BYD ส่ง E6 ลุยตลาดแท็กซี่ VIP 100 คันปลายปี สะเต็ปท์ต่อไปเล็งลอนซ์มินิแวนไฟฟ้า


ณ เวลานี้ นับว่า “BYD” เป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% แบรนด์แรกที่มีความชัดเจนในแนวทางการเจาะตลาดรถยนต์ในประเทศไทยว่าจะส่งรถยนต์นั่งส่วนบุคคลรุ่น e6 ชิมลางตลาดรถแท็กซี่ VIP 100 คันในช่วงปลายนี้ พร้อมๆ กับหาช่องทางส่งรถบัสไฟฟ้า 100% รุ่น C6 สู่ตลาดส่วนราชการ โรงแรม และนำเที่ยว ล่าสุดกำลังซุ่มพัฒนารถมินิแวนขนาดเล็ก ที่สามารถดัดแปลงให้เป็นรถยนต์ขนาด 7 ที่นั่ง คาดว่าจะเปิดตัวได้ปลายปีนี้

หากพิจารณาถึงแบรนด์ของ “BYD” หลายคนอาจจะมองว่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้าสายพันธุ์จีน แต่ถ้าพิจารณาถึง ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายในประเทศไทย คือ บริษัท ไรเซน เอนเนอร์จี ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยี กับ ชาริช โฮลดิ้ง จำกัด (ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ดูคาติ รอยัลเอนฟิลด์ และอีกหลายผลิตภัณฑ์ด้านยานยนต์และเทคโนโลยี จึงเชื่อได้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์นี้มีมือบริหารการตลาดมีความเชี่ยวชาญในด้านการทำตลาดในประเทศไทยในระดับหนึ่ง และจากการที่ได้สัมภาษณ์ คุณวรรัตน์ ภักดีประพฤทธิ์พฤติ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ไรเซน เอนเนอร์จี จำกัด ทำให้ได้ความกระจ่างในทิศทางการตลาดของค่ายรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์นี้ว่าจะมุ่งเจาะตลาดรถขนส่งสาธารณะระดับบน ที่ต้องการความประหยัดที่มาพร้อมกับภาพลักษณ์ด้านการรักษาสภาพแวดล้อม คำว่า ZERO EMISSION จึงถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นจุดเด่นของตัวผลิตภัณฑ์

“รถ BYD e6 พัฒนาขึ้นมาเพื่อทำเป็นรถแท็กซี่ สำหรับบ้านเราจะใช้เป็นแท็กซี่ วีไอพี จริงๆ การใช้งานรถรุ่นนี้เหมาะสำหรับเป็น Corporate car เป็นลิมูซีน เพราะมันช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ถามว่าทำไมเราถึงโฟกัสในเรื่องของการขนส่งสาธารณะเป็นอันดับแรก เหตุผลประการแรกคือเรื่องของความคุ้มทุน e6 มีราคา 1.89 ล้านบาท ถ้าดูผิวเผินจะมีราคาค่อนข้างสูง แต่ถ้าใช้งานเยอะๆ ต้องมีรีเทิร์นกลับมาจึงจะคุ้ม สิ่งที่จะทำให้มีรีเทิร์นได้ก็คือรถคันนี้ไม่ได้ใช้น้ำมัน พอไม่มีระบบน้ำมัน ต้องใช้ไฟฟ้า และค่าไฟฟ้าต่อหน่วยถูกกว่าการใช้น้ำมัน e6 สามารถวิ่งได้ 350 กม.ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง ซึ่งใช้ค่าไฟที่คิดแบบแพงที่สุด ก็คือไม่เกิน 400 บาท/350 ก.ม. อันนี้คือประเมินราคาสูงแบบบวกๆ เลย”

“ในทางกลับกัน ถ้าเราได้ค่าไฟที่ถูก ค่าไฟฟ้าก็จะถูกลงเยอะเลย ก็จะทำให้อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงไม่ถึง 1 บาทต่อกม. ถ้าทำการชาร์จในช่วงเวลาที่ค่าไฟถูก ในเรต off peak คือ 4 ทุ่ม ถึง 9 โมงเช้าการบริหารจัดการตรงนี้คนที่เป็นแท็กซี่โอปะเรเตอร์สามารถบริหารจัดการได้ ถ้าชาร์จตอนกลางวันก็จะประหยัดค่าไฟ ซึ่งหมายถึงต้นทุนก็จะลดลง ยังไม่รวมถึงเรื่องการแมนเทอร์แนนท์ที่ถูกกว่ารถธรรมดา เนื่องจากรถไฟฟ้าไม่มีชิ้นส่วนที่สึกหรอมากเหมือนเครื่องยนต์สันดาปภายใน”

“e6 ถ้านำไปใช้เป็นรถบ้าน บางคนอาจจะกังวลในเรื่องของการวิ่งไกลๆ จะทำอย่างไร ถ้าหากต้องชาร์จอีกรอบหนึ่ง ซึ่งในเรื่องของสถานีชาร์จตอนนี้อาจจะยังไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่ แต่สำหรับคนที่กำลังมองหาแท็กซี่วีไอพีที่ประหยัดและได้ภาพลักษณ์ปลอดพอลลูชั่น รถของเราก็จะตอบได้ตรงโจทย์ ที่กรมขนส่งทางบกได้มีประกาศออกมาว่าให้มีประเภทใหม่ของแท็กซี่ คือ แท็กซี่วีไอพี ที่สามารถเรียกเก็บค่าโดยสารได้มากกว่าแท็กซี่ประเภทปกติ เนื่องจากมีขนาดของเครื่องและรถที่สูงกว่า ซึ่ง BYD e6 ผ่านเกณฑ์ตามประกาศของกรมขนส่งทางบก”

ในส่วนของกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ทั่วไป “คุณวรรัตน์” ประเมินว่าในระยะเริ่มต้นเปิดตัวออกสู่ตลาด e6 ยังมีราคาที่ค่อนข้างสูง น่าจะเหมาะสำหรับบริษัทใหญ่ๆ ที่จะต้องนำไปใช้ในฟีดของรถที่ใช้สำหรับผู้บริหาร ที่ได้ภาพลักษณ์เรื่องของความปลอดพอลลูชั่น ขณะเดียวกันถ้าใช้ไปนานๆ จะสามารถลดต้นทุนของธุรกิจได้ค่อนข้างดี อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2561 ทางบริษัทฯได้เซ็นเอ็มโอยูแท็กซี่ VIP 100 คันแรก คาดว่าไม่เกินสิ้นปีนี้เราจะได้เห็นฟีดแรกของรถแท็กซี่ VIP ให้บริการรับส่งผู้โดยสารอย่างแน่นอน

“ปัญหาหลักๆ ในตอนนี้ก็คือคนยังไม่คุ้นเคย ยังมีคำถามอยู่เยอะมากว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะเกิดปัญหาไฟดูดไหม ฝนตกจะเป็นยังไง ถ้าใช้แบตเตอรี่ไฮโวลท์เตจแบบนั้นจะช็อตเราหรือเปล่า อันที่จริง e6 มีระบบเซฟตี้ที่ดีมาก ขณะที่เซลแบตเตอรี่ของเรามันเป็นเซลเล็ก ๆ อยู่ในแพ็กเดียว แล้วมีการแมเนจเมนท์เวลาที่ปล่อยไฟเข้าไปและปล่อยไฟออก คือจะชาร์จเข้าแบตเตอรี่เอาไฟฟ้าเข้ามา แล้วปล่อยออกไปหมุนมอเตอร์ จะมีระบบช่วยควบคุมในเรื่องของอุณหภูมิของกระแสไฟที่เข้าไป เมื่อมีการเติมไฟเข้าไป ไฟฟ้าจะค่อยๆ ไหลเข้าไปเรื่อยๆ เมื่อทุกอย่างรีเช็กว่าเต็ม จะตัดไฟทันที คือเป็นระบบเซฟตี้ ขณะที่ปล่อยออกก็เหมือนกัน ถ้าอุณหภูมิสูงจนร้อนเกินไปก็จะมีระบบเซฟตี้อีกรอบนึง”

“ข้อดีอีกประการหนึ่งก็คือแบตเตอรี่ของ BYD เป็นแบตเตอร์รี่ลิเธียมไอออน ฟอสเฟต ซึ่งฟอสเฟตเป็นสารที่ติดไฟยาก นั่นคือประเด็นที่เราค่อนข้างมั่นใจว่ารถของเราน่าจะปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ โดยผ่านการพิสูจน์การใช้งานจริงมากว่า 7 ปี ใน 200 เมือง 50 ประเทศทั่วโลก”

นอกจากนี้ “คุณวรรัตน์” ยังได้เปิดเผยถึงส่วนของรถบัสไฟฟ้า BYD C6 ว่าตอนนี้มีหลายคนสนใจ แต่ไม่แน่ใจว่าทางภาครัฐจะมีมาตรการอะไรสนับสนุน เพราะรถบัสราคาค่อนข้างสูง ด้วยความที่แบตเตอรี่ต้องมีขนาดใหญ่ การทำตลาดคงเน้นการใช้แบบ VIP มากกว่า ไม่ได้เน้นขายแบบตลาดทั่วไป คือจะมีไม่กี่ปัจจัยที่จะทำให้รถบัสไฟฟ้าไปได้ ข้อแรกถ้าภาคเอกชนสนใจจริงๆ อาจจะลงทุน หากมองในระยะยาว เขาจะมีความคุ้มทุนในระดับหนึ่ง อาจจะเป็นธุรกิจโรงแรม หรือธุรกิจนำเที่ยว ถ้ายอมจ่ายในเรื่องนี้ คิดว่าคุ้ม เพราะมีครบทั้งในเรื่องของความประหยัดค่าเชื้อเพลิง การสึกหรอ การบำรุงรักษาจะลดลง และได้ภาพลักษณ์เรื่องการรักษาสภาพแวดล้อม

“รถบัสไฟฟ้าที่โชว์อยู่ในงานมอเตอร์โชว์ ยังมีราคาสูงกว่ารถบัสน้ำมัน ต่อไปบริษัทยังมีรถยนต์ไฟฟ้าที่จะเปิดตัวช่วงปลายปี เป็นรถมินิแวนไฟฟ้า แต่เป็นแวนขนาดเล็กเอาไว้ขนของ สามารถดัดแปลงให้เป็นรถ 7 ที่นั่ง ตัวนี้ราคาจะลดลงมาจากตัวรถยนต์ไฟฟ้า e6 เพราะว่าใช้แบตเตอรี่น้อยกว่า เป็นแบตเตอรี่ขนาด 50.3 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง จะสามารถส่งมอบในไทยได้ช่วงปลายปีนี้ โดยสามารถวิ่งได้ระยะทางกว่า 300 กิโลเมตรต่อ 1 การชาร์จ”

ตอนนี้เปิดให้จองรถไฟฟ้า BYD e6 ได้ในงานมอเตอร์โชว์ โดยตั้งเป้ายอดขาย 500 คันในปี 2561 เพราะขณะนี้อย่างน้อยๆก็ทำยอดขายรถแท็กซี่ VIP ไปแล้ว 100 คัน โดยมั่นใจว่าหลังจากมีการนำไปใช้เป็นรถแท็กซี่ VIP จะเป็นจุดแข็งที่ทำให้ผู้ใช้รถยนต์ทั่วไปให้การยอมรับ และเกิดความมั่นใจในคุณภาพว่ามีมาตรฐานสูง สามารถรองรับการใช้งานหนักๆได้

ข้อมูลเทคนิค

BYD E6 เป็นรถอเนกประสงค์ 5 ประตู ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ให้กำลังสูงสุด 134 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 450 นิวตันเมตร แบตเตอรี่เป็นแบบ Lithium Iron Phosphate ขนาดความจุ 80 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ความเร็วสูงสุด 140 กม./ชม.โดยมีการรับประกันมอเตอร์และแบตเตอรี่ถึง 5 ปี /500,000 กม.

ณ เวลานี้ นับว่า “BYD” เป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% แบรนด์แรกที่มีความชัดเจนในแนวทางการเจาะตลาดรถยนต์ในประเทศไทยว่าจะส่งรถยนต์นั่งส่วนบุคคลรุ่น e6 ชิมลางตลาดรถแท็กซี่ VIP 100 คันในช่วงปลายนี้ พร้อมๆ กับหาช่องทางส่งรถบัสไฟฟ้า 100% รุ่น C6 สู่ตลาดส่วนราชการ โรงแรม และนำเที่ยว ล่าสุดกำลังซุ่มพัฒนารถมินิแวนขนาดเล็ก ที่สามารถดัดแปลงให้เป็นรถยนต์ขนาด 7 ที่นั่ง คาดว่าจะเปิดตัวได้ปลายปีนี้

หากพิจารณาถึงแบรนด์ของ “BYD” หลายคนอาจจะมองว่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้าสายพันธุ์จีน แต่ถ้าพิจารณาถึง ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายในประเทศไทย คือ บริษัท ไรเซน เอนเนอร์จี ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยี กับ ชาริช โฮลดิ้ง จำกัด (ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ดูคาติ รอยัลเอนฟิลด์ และอีกหลายผลิตภัณฑ์ด้านยานยนต์และเทคโนโลยี จึงเชื่อได้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์นี้มีมือบริหารการตลาดมีความเชี่ยวชาญในด้านการทำตลาดในประเทศไทยในระดับหนึ่ง และจากการที่ได้สัมภาษณ์ คุณวรรัตน์ ภักดีประพฤทธิ์พฤติ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ไรเซน เอนเนอร์จี จำกัด ทำให้ได้ความกระจ่างในทิศทางการตลาดของค่ายรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์นี้ว่าจะมุ่งเจาะตลาดรถขนส่งสาธารณะระดับบน ที่ต้องการความประหยัดที่มาพร้อมกับภาพลักษณ์ด้านการรักษาสภาพแวดล้อม คำว่า ZERO EMISSION จึงถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นจุดเด่นของตัวผลิตภัณฑ์

“รถ BYD e6 พัฒนาขึ้นมาเพื่อทำเป็นรถแท็กซี่ สำหรับบ้านเราจะใช้เป็นแท็กซี่ วีไอพี จริงๆ การใช้งานรถรุ่นนี้เหมาะสำหรับเป็น Corporate car เป็นลิมูซีน เพราะมันช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ถามว่าทำไมเราถึงโฟกัสในเรื่องของการขนส่งสาธารณะเป็นอันดับแรก เหตุผลประการแรกคือเรื่องของความคุ้มทุน e6 มีราคา 1.89 ล้านบาท ถ้าดูผิวเผินจะมีราคาค่อนข้างสูง แต่ถ้าใช้งานเยอะๆ ต้องมีรีเทิร์นกลับมาจึงจะคุ้ม สิ่งที่จะทำให้มีรีเทิร์นได้ก็คือรถคันนี้ไม่ได้ใช้น้ำมัน พอไม่มีระบบน้ำมัน ต้องใช้ไฟฟ้า และค่าไฟฟ้าต่อหน่วยถูกกว่าการใช้น้ำมัน e6 สามารถวิ่งได้ 350 กม.ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง ซึ่งใช้ค่าไฟที่คิดแบบแพงที่สุด ก็คือไม่เกิน 400 บาท/350 ก.ม. อันนี้คือประเมินราคาสูงแบบบวกๆ เลย”

“ในทางกลับกัน ถ้าเราได้ค่าไฟที่ถูก ค่าไฟฟ้าก็จะถูกลงเยอะเลย ก็จะทำให้อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงไม่ถึง 1 บาทต่อกม. ถ้าทำการชาร์จในช่วงเวลาที่ค่าไฟถูก ในเรต off peak คือ 4 ทุ่ม ถึง 9 โมงเช้าการบริหารจัดการตรงนี้คนที่เป็นแท็กซี่โอปะเรเตอร์สามารถบริหารจัดการได้ ถ้าชาร์จตอนกลางวันก็จะประหยัดค่าไฟ ซึ่งหมายถึงต้นทุนก็จะลดลง ยังไม่รวมถึงเรื่องการแมนเทอร์แนนท์ที่ถูกกว่ารถธรรมดา เนื่องจากรถไฟฟ้าไม่มีชิ้นส่วนที่สึกหรอมากเหมือนเครื่องยนต์สันดาปภายใน”

"e6 ถ้านำไปใช้เป็นรถบ้าน บางคนอาจจะกังวลในเรื่องของการวิ่งไกลๆ จะทำอย่างไร ถ้าหากต้องชาร์จอีกรอบหนึ่ง ซึ่งในเรื่องของสถานีชาร์จตอนนี้อาจจะยังไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่ แต่สำหรับคนที่กำลังมองหาแท็กซี่วีไอพีที่ประหยัดและได้ภาพลักษณ์ปลอดพอลลูชั่น รถของเราก็จะตอบได้ตรงโจทย์ ที่กรมขนส่งทางบกได้มีประกาศออกมาว่าให้มีประเภทใหม่ของแท็กซี่ คือ แท็กซี่วีไอพี ที่สามารถเรียกเก็บค่าโดยสารได้มากกว่าแท็กซี่ประเภทปกติ เนื่องจากมีขนาดของเครื่องและรถที่สูงกว่า ซึ่ง BYD e6 ผ่านเกณฑ์ตามประกาศของกรมขนส่งทางบก"

ในส่วนของกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ทั่วไป “คุณวรรัตน์” ประเมินว่าในระยะเริ่มต้นเปิดตัวออกสู่ตลาด e6 ยังมีราคาที่ค่อนข้างสูง น่าจะเหมาะสำหรับบริษัทใหญ่ๆ ที่จะต้องนำไปใช้ในฟีดของรถที่ใช้สำหรับผู้บริหาร ที่ได้ภาพลักษณ์เรื่องของความปลอดพอลลูชั่น ขณะเดียวกันถ้าใช้ไปนานๆ จะสามารถลดต้นทุนของธุรกิจได้ค่อนข้างดี อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2561 ทางบริษัทฯได้เซ็นเอ็มโอยูแท็กซี่ VIP 100 คันแรก คาดว่าไม่เกินสิ้นปีนี้เราจะได้เห็นฟีดแรกของรถแท็กซี่ VIP ให้บริการรับส่งผู้โดยสารอย่างแน่นอน

“ปัญหาหลักๆ ในตอนนี้ก็คือคนยังไม่คุ้นเคย ยังมีคำถามอยู่เยอะมากว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะเกิดปัญหาไฟดูดไหม ฝนตกจะเป็นยังไง ถ้าใช้แบตเตอรี่ไฮโวลท์เตจแบบนั้นจะช็อตเราหรือเปล่า อันที่จริง e6 มีระบบเซฟตี้ที่ดีมาก ขณะที่เซลแบตเตอรี่ของเรามันเป็นเซลเล็ก ๆ อยู่ในแพ็กเดียว แล้วมีการแมเนจเมนท์เวลาที่ปล่อยไฟเข้าไปและปล่อยไฟออก คือจะชาร์จเข้าแบตเตอรี่เอาไฟฟ้าเข้ามา แล้วปล่อยออกไปหมุนมอเตอร์ จะมีระบบช่วยควบคุมในเรื่องของอุณหภูมิของกระแสไฟที่เข้าไป เมื่อมีการเติมไฟเข้าไป ไฟฟ้าจะค่อยๆ ไหลเข้าไปเรื่อยๆ เมื่อทุกอย่างรีเช็กว่าเต็ม จะตัดไฟทันที คือเป็นระบบเซฟตี้ ขณะที่ปล่อยออกก็เหมือนกัน ถ้าอุณหภูมิสูงจนร้อนเกินไปก็จะมีระบบเซฟตี้อีกรอบนึง"

"ข้อดีอีกประการหนึ่งก็คือแบตเตอรี่ของ BYD เป็นแบตเตอร์รี่ลิเธียมไอออน ฟอสเฟต ซึ่งฟอสเฟตเป็นสารที่ติดไฟยาก นั่นคือประเด็นที่เราค่อนข้างมั่นใจว่ารถของเราน่าจะปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ โดยผ่านการพิสูจน์การใช้งานจริงมากว่า 7 ปี ใน 200 เมือง 50 ประเทศทั่วโลก”

นอกจากนี้ “คุณวรรัตน์” ยังได้เปิดเผยถึงส่วนของรถบัสไฟฟ้า BYD C6 ว่าตอนนี้มีหลายคนสนใจ แต่ไม่แน่ใจว่าทางภาครัฐจะมีมาตรการอะไรสนับสนุน เพราะรถบัสราคาค่อนข้างสูง ด้วยความที่แบตเตอรี่ต้องมีขนาดใหญ่ การทำตลาดคงเน้นการใช้แบบ VIP มากกว่า ไม่ได้เน้นขายแบบตลาดทั่วไป คือจะมีไม่กี่ปัจจัยที่จะทำให้รถบัสไฟฟ้าไปได้ ข้อแรกถ้าภาคเอกชนสนใจจริงๆ อาจจะลงทุน หากมองในระยะยาว เขาจะมีความคุ้มทุนในระดับหนึ่ง อาจจะเป็นธุรกิจโรงแรม หรือธุรกิจนำเที่ยว ถ้ายอมจ่ายในเรื่องนี้ คิดว่าคุ้ม เพราะมีครบทั้งในเรื่องของความประหยัดค่าเชื้อเพลิง การสึกหรอ การบำรุงรักษาจะลดลง และได้ภาพลักษณ์เรื่องการรักษาสภาพแวดล้อม

"รถบัสไฟฟ้าที่โชว์อยู่ในงานมอเตอร์โชว์ ยังมีราคาสูงกว่ารถบัสน้ำมัน ต่อไปบริษัทยังมีรถยนต์ไฟฟ้าที่จะเปิดตัวช่วงปลายปี เป็นรถมินิแวนไฟฟ้า แต่เป็นแวนขนาดเล็กเอาไว้ขนของ สามารถดัดแปลงให้เป็นรถ 7 ที่นั่ง ตัวนี้ราคาจะลดลงมาจากตัวรถยนต์ไฟฟ้า e6 เพราะว่าใช้แบตเตอรี่น้อยกว่า เป็นแบตเตอรี่ขนาด 50.3 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง จะสามารถส่งมอบในไทยได้ช่วงปลายปีนี้ โดยสามารถวิ่งได้ระยะทางกว่า 300 กิโลเมตรต่อ 1 การชาร์จ”

ตอนนี้เปิดให้จองรถไฟฟ้า BYD e6 ได้ในงานมอเตอร์โชว์ โดยตั้งเป้ายอดขาย 500 คันในปี 2561 เพราะขณะนี้อย่างน้อยๆก็ทำยอดขายรถแท็กซี่ VIP ไปแล้ว 100 คัน โดยมั่นใจว่าหลังจากมีการนำไปใช้เป็นรถแท็กซี่ VIP จะเป็นจุดแข็งที่ทำให้ผู้ใช้รถยนต์ทั่วไปให้การยอมรับ และเกิดความมั่นใจในคุณภาพว่ามีมาตรฐานสูง สามารถรองรับการใช้งานหนักๆได้

ข้อมูลเทคนิค

BYD E6 เป็นรถอเนกประสงค์ 5 ประตู ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ให้กำลังสูงสุด 134 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 450 นิวตันเมตร แบตเตอรี่เป็นแบบ Lithium Iron Phosphate ขนาดความจุ 80 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ความเร็วสูงสุด 140 กม./ชม.โดยมีการรับประกันมอเตอร์และแบตเตอรี่ถึง 5 ปี /500,000 กม.

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!