GULF คาดปิดดีลเงินกู้ทำโรงไฟฟ้า IPP ใหม่ขนาด 2,500 MW ในปีนี้หลังสถาบันการเงินสนใจปล่อยกู้มากกว่า 5 เท่า


นายรัฐพล ชื่นสมจิตต์ รองกรรมการผู้จัดการ บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) เปิดเผยว่า การดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (IPP) ใหม่จำนวน 2 แห่ง กำลังผลิตรวม 5,000 เมกะวัตต์ (MW) นั้น คาดว่าจะสามารถดำเนินการปิดเงินกู้ สำหรับโรงไฟฟ้า IPP ขนาด 2,500 เมกะวัตต์แรกได้ภายในสิ้นปีนี้ หลังมีสถาบันการเงินให้ความสนใจที่จะปล่อยกู้มากกว่า 5 เท่าของวงเงินกู้ที่ต้องการ

“สำหรับโรงไฟฟ้า 5,000 เมกะวัตต์ โรงแรกเราได้จัดหาเงินกู้โดยออกจดหมายเชิญชวนธนาคารทั้งไทยและต่างประเทศ ได้พูดคุยกับ ADB ด้วย และทาง JBIC ซึ่งทุกแบงก์ให้ความสนใจ เราได้รับข้อเสนอจากแบงก์พาณิชย์เรียบร้อยแล้ว ได้รับความสนใจมากกว่า 5 เท่าของเงินกู้โรงไฟฟ้า IPP โรงแรกขนาด 2,500 เมกะวัตต์ เชื่อว่าภายในสิ้นปีนี้ เราจะปิด financing close โรงไฟฟ้าโรงแรกได้อย่างแน่นอน”นายรัฐพล กล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์เมื่อช่วงเช้า

นายรัฐพล กล่าวอีกว่า บริษัทเชื่อมั่นว่าหุ้น GULF จะหลุดการใช้เกณฑ์ Cash Balance ตั้งแต่สัปดาห์หน้า หลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้ขยายเวลาการใช้เกณฑ์ดังกล่าวกับหุ้นของบริษัทจนถึงวันที่ 9 มี.ค.นี้ เนื่องจากบริษัทมีพื้นฐานมั่นคง และอยู่ในธุรกิจไฟฟ้าที่ได้รับสัมปทานจากภาครัฐ นับเป็น growth stock แม้ P/E ในช่วงแรกอาจจะสูงแต่เชื่อว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง

โดยความเสี่ยงของบริษัทไม่เหมือนธุรกิจขายสินค้าอุปโภคบริโภค เพราะอยู่ในธุรกิจที่มีสัญญาซื้อขายชัดเจนกับภาครัฐ ขณะที่การก่อสร้างโรงไฟฟ้าและการเดินเครื่องผลิตเชิงพาณิชย์ (COD) ของโรงไฟฟ้าก็เป็นไปตามแผนงาน โดยไม่เคยสร้างโรงไฟฟ้าใดด้วยราคาที่เกินกว่าต้นทุนงบประมาณของบริษัท ทำให้เชื่อมั่นว่าบริษัทมีพื้นฐานที่มั่นคงและอัตราการเติบโตที่จับต้องได้

สำหรับปี 61 บริษัทมีกำลังผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนร่วมทุนที่ COD แล้ว แบ่งเป็นโรงไฟฟ้า IPP จำนวน 1,400 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) จำนวน 760 เมกะวัตต์ หลังเมื่อต้นปีนี้ได้ COD โรงไฟฟ้า SPP ในจ.ระยอง ขนาด 125 เมกะวัตต์ และล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มี.ค. โรงไฟฟ้า SPP ในจ.ปราจีนบุรี ขนาด 126.5 เมกะวัตต์ ได้ COD แล้ว ขณะที่ในเดือนก.ย. และเดือนพ.ย.61 จะ COD โรงไฟฟ้า SPP อีกรวม 2 แห่ง ขนาดกำลังการผลิตราว 120 เมกะวัตต์/แห่ง ในจ.พระนครศรีอยุธยา

นอกจากนี้ ในปี 62 จะทยอย COD โรงไฟฟ้า SPP อีก 4 แห่ง ในช่วงเดือน ม.ค., มี.ค., พ.ค. และ ก.ค.ใน จ.ระยอง ,สระบุรี และนครราชสีมา มีกำลังการผลิต ประมาณ 120-130 เมกะวัตต์/แห่ง ส่วนในปี 63 แม้จะไม่มีโรงไฟฟ้าใหม่ COD แต่บริษัทก็จะยังมีอัตราการเติบโตจากการรับรู้ผลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าที่ COD จำนวน 4 แห่งในปี 62 ได้เต็มปี

ส่วนโรงไฟฟ้า IPP จำนวน 2 แห่ง ขนาด 5,000 เมกะวัตต์ จะแบ่งเป็น โรงไฟฟ้าแห่งแรก ขนาด 2,500 เมกะวัตต์ มีทั้งสิ้น 4 ยูนิต ยูนิตละ 625 เมกะวัตต์ จะทยอย COD ภายในช่วงปี 64-65 และโรงไฟฟ้าแห่งที่สอง ขนาด 2,500 เมกะวัตต์ จะทยอย COD ช่วงปี 66-67 โดยโรงไฟฟ้า IPP ทั้ง 2 แห่งนี้ บริษัทถือสัดส่วนจำนวน 70% คิดเป็นกำลังการผลิตรวม 3,500 เมกะวัตต์

นายรัฐพล ชื่นสมจิตต์ รองกรรมการผู้จัดการ บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) เปิดเผยว่า การดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (IPP) ใหม่จำนวน 2 แห่ง กำลังผลิตรวม 5,000 เมกะวัตต์ (MW) นั้น คาดว่าจะสามารถดำเนินการปิดเงินกู้ สำหรับโรงไฟฟ้า IPP ขนาด 2,500 เมกะวัตต์แรกได้ภายในสิ้นปีนี้ หลังมีสถาบันการเงินให้ความสนใจที่จะปล่อยกู้มากกว่า 5 เท่าของวงเงินกู้ที่ต้องการ

"สำหรับโรงไฟฟ้า 5,000 เมกะวัตต์ โรงแรกเราได้จัดหาเงินกู้โดยออกจดหมายเชิญชวนธนาคารทั้งไทยและต่างประเทศ ได้พูดคุยกับ ADB ด้วย และทาง JBIC ซึ่งทุกแบงก์ให้ความสนใจ เราได้รับข้อเสนอจากแบงก์พาณิชย์เรียบร้อยแล้ว ได้รับความสนใจมากกว่า 5 เท่าของเงินกู้โรงไฟฟ้า IPP โรงแรกขนาด 2,500 เมกะวัตต์ เชื่อว่าภายในสิ้นปีนี้ เราจะปิด financing close โรงไฟฟ้าโรงแรกได้อย่างแน่นอน"นายรัฐพล กล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์เมื่อช่วงเช้า

นายรัฐพล กล่าวอีกว่า บริษัทเชื่อมั่นว่าหุ้น GULF จะหลุดการใช้เกณฑ์ Cash Balance ตั้งแต่สัปดาห์หน้า หลังจากที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้ขยายเวลาการใช้เกณฑ์ดังกล่าวกับหุ้นของบริษัทจนถึงวันที่ 9 มี.ค.นี้ เนื่องจากบริษัทมีพื้นฐานมั่นคง และอยู่ในธุรกิจไฟฟ้าที่ได้รับสัมปทานจากภาครัฐ นับเป็น growth stock แม้ P/E ในช่วงแรกอาจจะสูงแต่เชื่อว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง

โดยความเสี่ยงของบริษัทไม่เหมือนธุรกิจขายสินค้าอุปโภคบริโภค เพราะอยู่ในธุรกิจที่มีสัญญาซื้อขายชัดเจนกับภาครัฐ ขณะที่การก่อสร้างโรงไฟฟ้าและการเดินเครื่องผลิตเชิงพาณิชย์ (COD) ของโรงไฟฟ้าก็เป็นไปตามแผนงาน โดยไม่เคยสร้างโรงไฟฟ้าใดด้วยราคาที่เกินกว่าต้นทุนงบประมาณของบริษัท ทำให้เชื่อมั่นว่าบริษัทมีพื้นฐานที่มั่นคงและอัตราการเติบโตที่จับต้องได้

สำหรับปี 61 บริษัทมีกำลังผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนร่วมทุนที่ COD แล้ว แบ่งเป็นโรงไฟฟ้า IPP จำนวน 1,400 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) จำนวน 760 เมกะวัตต์ หลังเมื่อต้นปีนี้ได้ COD โรงไฟฟ้า SPP ในจ.ระยอง ขนาด 125 เมกะวัตต์ และล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มี.ค. โรงไฟฟ้า SPP ในจ.ปราจีนบุรี ขนาด 126.5 เมกะวัตต์ ได้ COD แล้ว ขณะที่ในเดือนก.ย. และเดือนพ.ย.61 จะ COD โรงไฟฟ้า SPP อีกรวม 2 แห่ง ขนาดกำลังการผลิตราว 120 เมกะวัตต์/แห่ง ในจ.พระนครศรีอยุธยา

นอกจากนี้ ในปี 62 จะทยอย COD โรงไฟฟ้า SPP อีก 4 แห่ง ในช่วงเดือน ม.ค., มี.ค., พ.ค. และ ก.ค.ใน จ.ระยอง ,สระบุรี และนครราชสีมา มีกำลังการผลิต ประมาณ 120-130 เมกะวัตต์/แห่ง ส่วนในปี 63 แม้จะไม่มีโรงไฟฟ้าใหม่ COD แต่บริษัทก็จะยังมีอัตราการเติบโตจากการรับรู้ผลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าที่ COD จำนวน 4 แห่งในปี 62 ได้เต็มปี

ส่วนโรงไฟฟ้า IPP จำนวน 2 แห่ง ขนาด 5,000 เมกะวัตต์ จะแบ่งเป็น โรงไฟฟ้าแห่งแรก ขนาด 2,500 เมกะวัตต์ มีทั้งสิ้น 4 ยูนิต ยูนิตละ 625 เมกะวัตต์ จะทยอย COD ภายในช่วงปี 64-65 และโรงไฟฟ้าแห่งที่สอง ขนาด 2,500 เมกะวัตต์ จะทยอย COD ช่วงปี 66-67 โดยโรงไฟฟ้า IPP ทั้ง 2 แห่งนี้ บริษัทถือสัดส่วนจำนวน 70% คิดเป็นกำลังการผลิตรวม 3,500 เมกะวัตต์

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!