นักวิทยาศาสตร์จีนพัฒนาชิปใหม่ สร้างจักรยานไร้คนขับ-ตัดสินใจได้เอง


นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนพัฒนาได้ชิปอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อนได้สำเร็จ โดยชิปนี้จะสามารถสร้างจักรยานขับขี่อัตโนมัติที่สามารถตรวจจับและติดตามเป้าหมาย, หลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง, ทรงตัว, รับคำสั่งจากเสียง ทั้งยังตัดสินใจได้เองโดยไม่อิงคำสั่ง ด้วยระบบประมวลผลร่วมของอัลกอรึทึมและตัวอย่างที่หลากหลาย

งานวิจัยชิ้นนี้นำโดยซือลู่ผิงและคณะจากศูนย์วิจัยการคำนวณที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสมอง (Center for Brain Inspired Computing Research) แห่งมหาวิทยาลัยชิงหัว และได้รับการเผยแพร่เป็นบทความหลักของนิตยสารเนเจอร์แมกาซีน (Nature Magazine) เมื่อวันพฤหัสบดี (1 ส.ค.) ที่ผ่านมา

บทความระบุว่า การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ทั่วไป (artificial general intelligence) ประกอบด้วยสองแนวทาง แนวทางแรกมีรากฐานมาจากประสาทวิทยาศาสตร์ (neuroscience) โดยพยายามสร้างวงจรที่เลียนแบบการทำงานของสมอง แนวทางที่สองมีพื้นฐานมาจากวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ โดยการสร้างอัลกอริทึมแบบแมชชีนเลิร์นนิง

ชิปนี้มีชื่อว่า “เทียนจีซิน” (Tianjic) สามารถผสานทั้งสองแนวทางดังกล่าว กลายเป็นแพลตฟอร์มแบบผสม ที่มีทั้งอัลกอริทึมแมชชีนเลิร์นนิ่งและวงจรแบบสมอง

ชิปเทียนจีซินรุ่นแรกได้รับการพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี 2015 และรุ่นที่ 2 ในปี 2017 หลังจากได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีชิปดังกล่าวประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังใช้พลังงานน้อยลงอย่างมาก

“เมื่อเทียบกับชิปธรรมดาในตลาด ชิปของเรามีความหนาแน่นกว่าร้อยละ 20 รวดเร็วกว่าอย่างน้อย 10 เท่า และเพิ่มความกว้างของคลื่นความถี่ (Bandwidth) อย่างน้อย 100 เท่า” ซือกล่าว “ชิปเทียนจีซินมุ่งเป้าสร้างแพลตฟอร์มการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และยืดหยุ่นยิ่งขึ้น เพื่อการวิจัยปัญญาประดิษฐ์และการพัฒนาแอปพลิเคชันที่หลากหลาย”

นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนพัฒนาได้ชิปอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อนได้สำเร็จ โดยชิปนี้จะสามารถสร้างจักรยานขับขี่อัตโนมัติที่สามารถตรวจจับและติดตามเป้าหมาย, หลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง, ทรงตัว, รับคำสั่งจากเสียง ทั้งยังตัดสินใจได้เองโดยไม่อิงคำสั่ง ด้วยระบบประมวลผลร่วมของอัลกอรึทึมและตัวอย่างที่หลากหลาย

งานวิจัยชิ้นนี้นำโดยซือลู่ผิงและคณะจากศูนย์วิจัยการคำนวณที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสมอง (Center for Brain Inspired Computing Research) แห่งมหาวิทยาลัยชิงหัว และได้รับการเผยแพร่เป็นบทความหลักของนิตยสารเนเจอร์แมกาซีน (Nature Magazine) เมื่อวันพฤหัสบดี (1 ส.ค.) ที่ผ่านมา

บทความระบุว่า การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ทั่วไป (artificial general intelligence) ประกอบด้วยสองแนวทาง แนวทางแรกมีรากฐานมาจากประสาทวิทยาศาสตร์ (neuroscience) โดยพยายามสร้างวงจรที่เลียนแบบการทำงานของสมอง แนวทางที่สองมีพื้นฐานมาจากวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ โดยการสร้างอัลกอริทึมแบบแมชชีนเลิร์นนิง

ชิปนี้มีชื่อว่า “เทียนจีซิน” (Tianjic) สามารถผสานทั้งสองแนวทางดังกล่าว กลายเป็นแพลตฟอร์มแบบผสม ที่มีทั้งอัลกอริทึมแมชชีนเลิร์นนิ่งและวงจรแบบสมอง

ชิปเทียนจีซินรุ่นแรกได้รับการพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี 2015 และรุ่นที่ 2 ในปี 2017 หลังจากได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีชิปดังกล่าวประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังใช้พลังงานน้อยลงอย่างมาก

“เมื่อเทียบกับชิปธรรมดาในตลาด ชิปของเรามีความหนาแน่นกว่าร้อยละ 20 รวดเร็วกว่าอย่างน้อย 10 เท่า และเพิ่มความกว้างของคลื่นความถี่ (Bandwidth) อย่างน้อย 100 เท่า” ซือกล่าว “ชิปเทียนจีซินมุ่งเป้าสร้างแพลตฟอร์มการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และยืดหยุ่นยิ่งขึ้น เพื่อการวิจัยปัญญาประดิษฐ์และการพัฒนาแอปพลิเคชันที่หลากหลาย”

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!