บางกอกแต่หนหลัง- ตอน ๒ เล่าเรื่องรถและเรื่องเหล้าเมื่อบางกอกแต่หนหลัง : ยุคสมัยรถยุโรปและอเมริกาครองเมือง


อาลิ้ม ณ โรงภาษี-บรรเลง

กว่าจะเข้าเรื่องเมืองบางกอกแต่หนหลัง ตอนที่ ๒ ล่วงเลยมาเป็นหลายเมา ตามวิถีของคนปูนนี้ ด้วยติดหนึบติดหนับกับแวดวงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตั้งแต่วิกฤติ “ยูเครน” ตามมาก็สาวเจ้า “ประธานรัฐสภาของสหรัฐอเมริกาเยือน “ไต้หวัน” เข้าให้ ประมาณว่า “พญาอินทรีย์โฉบพญามังกร”

ว่าแล้วก็ร่ายบรรเลงเรื่องความหลัง อันเมืองกรุงแต่ปางก่อนเขาว่ากันว่า น้ำในคลองใสสะอาดถึงขนาดกับเอามาแปรงฟันได้เลยเชียวล่ะ

ส่วนกุ้งหอยปูปลามีแทบล้นคลองไปที่ไหนก็เจอเต็มเปี่ยมตามธรรมชาติ วันดีคืนดีฝนตกลงมาปลาขึ้นมาบนถนนเกลื่อนไปหมด ชาวบ้านชาวช่องวิ่งไล่จับใส่กระด้งเอามาแกงส้มแจกกันทั่วท้้งหมู่บ้าน แบ่งสรรปันส่วนกันด้วยน้ำจิตน้ำใจโอบอ้อมอารี บรรยากาศสงบปราศจากความวุ่นวาย แม้ว่าจะไม่มีเทคโนโลยี่ไฮ-เทคมากมาย แต่ชีวิตก็รื่นเริงรมณ์เสียเต็มประดา ขโมยขโจรไม่ค่อยมี

นึกถึงเรื่องของเทคโนโลยี่ก็อดคิดถึงตู้โทรศัพท์สมัยก่อนไม่ได้ ตู้โทรศัพท์สาธารณะจะเป็นสีแดงซึ่งหายากมาก ส่วนโทรศัพท์บ้านยิ่งหายากเข้าไปอีกเพราะการขอโทรศัพท์จากองค์การโทรศัพท์ชาติไทยสมัยนั้นช่างยากเย็นเสียเกินกว่าจะบรรยาย

ไปกรอกใบขอโทรศัพท์หลายปีกว่าจะได้ ถ้าแบบขอเร่งด่วนก็เสียค่าธรรมเนียม 30,000 บาทต้องรอแบบไม่มีกำหนดนะ ถ้าขอแบบปกติก็ 10,000 บาทอาจรอถึงชาติหน้า ท้ายที่สุดบริษัทเอกชนเข้าไปรับสัมประทาน โทรศัพท์บ้านจึงเกลื่อนเมืองแล้วก็หดหายไปตามกาลเวลาเมื่อถึงคิวของมือถือเข้าครองพื้นที่

ตู้โทรศัพท์สาธารณะต้องแลกเหรียญแบบสตางค์รูทำจากทองแดงราคา 75 สตางค์แล้วไปหยอดตู้ที่ตั้งอยู่ติดกับร้านแลกเหรียญ ส่วนตัวเลขจะมีเพียง 5 ตัว ขณะที่ราคาทองคำยุคนั้นบาทละ 400 วันไหนมีเงินติดตัว 20 บาทหากินเที่ยวได้ทั้งวัน

ค่ารถเมล์แค่ 50 สตางค์ ค่ารถรางแบ่งเป็น 2 ฝาก ๆ ที่มีเบาะนั่ง 50 สตางค์ ส่วนฝากพื้นไม้ไม่มีเบาะ 25 สตางค์ ก๋วยเตี๊ยวหรือข้าวราดแกงก็แค่ 50 สตางค์แถมน้ำแข็งเปล่าฟรี บ้านเมืองสงบสุข เศรษฐกิจไม่ตกสะเก็ด อาคารสูงยังไม่เกิด บ้านช่องส่วนใหญ่สร้างด้วยไม้ การล็อคประตูหน้าต่างแบบที่โบร่ำโบราณเรียกกันว่า “ลั่นดาน”

ยุคนั้นลูกบิดไม่มีให้เห็น แถมยังมีระบบเซ็นทรัลล็อคหรือ “ลั่นดานรวม” ท่านผู้อ่านนึกภาพกันเอาเองแล้วกัน ผู้บรรเลงอธิบายให้เห็นภาพยากจัง “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” ช่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง

เข้าเรื่องรถเรื่องรายังไม่มีวิ่งกันเกลื่อนเมือง ควันพิษจึงมีน้อยมาก อากาศสะอาดหายใจสดชื่นรื่นรูจมูก รถส่วนใหญ่มาจากฝากฝั่งอเมริกาและยุโรป

ส่วนรถจากญี่ปุ่นตามเข้ามาทีหลังยังเป็นรถระดับบ้านๆ ยังไม่มีรถหรูคันโก้ รถจากฝากฝั่งยุโรปมีมากกว่ารถจากอเมริกา ไล่กันตั้งแต่ ฮิลแมน, โฟล์คสวาเก้น, ออดี้, บีเอ็มดับเบิ้ลยู, เมอเซเดส-เบนซ์, เฟี๊ยต, ออสติน, ฟอร์ดจากอังกฤษ, ไทรอัมพ์, เอ็ม.จี, เรโนลย์ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกว่า “รถเรณู” และซีตรองเป็นต้น ส่วนรถจากยุโรปตะวันออกอย่าง เอ็น.เอส.ยู. มีให้เห็นอยู่บ้างประปราย

ส่วนรถแท็กซี่ก็จะเป็นยี่ห้อออสตินแลยี่ห้อฟอร์ด รถเฟี๊ยตก็พอมีบ้าง ก่อนจะมีนิสสัน บลูเบิร์ดเข้ามาครองจ้าวตลาดรถแท๊กซี่

เจ้ารถออสตินนี่มีจุดเด่นก็ตรงที่มีไฟเลี้ยวอยู่ตรงเสากลางด้านข้าง เวลาเปิดไฟเลี้ยวจะมีก้านแขนยื่นออกมาและสัญญาณไฟกระพริบ พอปิดไฟเลี้ยวเจ้าก้านแขนจะพับเก็บเข้าที่

ส่วนเจ้ารถคันใหญ่คันยาวโก้หรูมาวิ่งกันเกลื่อนเมืองก็เข้ายุคสงครามเวียตนาม มาพร้อมกับกองทัพอเมริกา ทั้งคาดิลแลค, ฟอร์ด, เชฟโรเลทและลินคอล์น ฯลฯ มีทั้งแบบซีดาน, สปอร์ตคูเป้และวาก้อน

รถพวกนี้เต็มเปี่ยมนวัตกรรมยานยนต์ที่ประเคนเข้าไปไว้ในรถเต็มที่เลยทีเดียว ส่วนรถบัสก็มีเข้ามาบ้างไว้รับส่งลูกๆ หลานๆ ทหารอเมริกันไปเรียนที่โรงเรียนนานาชาติที่ชื่อว่า โรงเรียนบางกอกพัฒนาก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500 อยู่ที่เพลินจิตก่อนจะย้ายมาอยู่ช่องนนทรีแถบถนนเชื้อเพลิงหรือชาวบ้านเรียกกันว่าสะพานดำ

เนื่องจากมีสะพานข้ามคลองสำหรับรถไฟสีดำตรงถนนพระราม ๔ ล่าสุดโรงเรียนนานาชาติแห่งนี้ย้ายไปอยู่ซอยลาซาลราว 20 ปีที่ผ่านมา รถบัสพวกนี้ใช้ปุ่มกดสตาร์ทอยู่บริเวณเท้า ส่วนรถบรรทุกและรถจี๊ฟก็พอมีให้เห็นพอควร ยี่ห้อดอดจ์จะเป็นรถบรรทุกแกร่งแข็งสุดๆ

รถอเมริกันเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นเกียร์ออโต้ ไฟหน้าแบบป็อปอัพมีให้เห็นหลายรุ่น ไฟหน้าปรับไฟสูง-ต่ำอัตโนมัติ ส่วนเครื่องยนต์ก็แบบ วี-8 สูบ ขนาด 5,000 ซีซี. หลายต่อหลายรุ่น

หลังจากถอนทัพกลับ รถพวกนี้จอดทิ้งกันเกลื่อนเพราะราคาตกต่ำสุดๆ คันละหมื่นกว่าบาทยังจอดแช่ตามเต๊นท์รถนานนับปีไม่มีใครกล้าซื้อ เนื่องจากราคาน้ำมันขยับขึ้นอย่างรวดเร็วและรถพวกนี้ซดน้ำมันยิ่งกว่าสามล้อถูกหวยซดเหล้าขาวหรือยกระดับหรูขึ้นไปหน่อยก็ซดน้ำสีอำพันอย่างกวางทองที่มีสโลแกนชาวบ้านชาวช่องเรียกขานว่า “กวางทองน้องแม่โขง” ด้วยเหตุที่ราคาถูกกว่า

รถอเมริกันพวกนี้อะไหล่หายากแถมราคาแพงต้องสั่งซื้อจากเมืองนอกเมืองนาที่สำคัญหาช่างซ่อมยากเย็น เพราะเทคโนโลยี่ไฮเทค ยุคนั้นเต๊นท์รถยังไม่มากเหมือนสมัยนี้ที่เต็มไปหมดเติบโตดั่งดอกเห็ดแทบทุกซอกซอย

ท้ายที่สุดป่าช้ารถยนต์ก็ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในบางกอกเมืองกรุงแถวถนนพระราม ๓ ถัดไปจากถนนนางลิ้นจี่ไปหน่อย สมัยโน้นถนนพระราม ๓ เงียบฉี่ดั่งป่าช้าไม่ค่อยมีชุมชนเรียกได้ว่าเป็นชานเมือง

ตรงนั้นรถอเมริกันจอดทิ้งจอดขว้างหลายร้อยคันไม่มีใครให้ความใส่ใจ ถ้าเป็นยุคนี้คงไม่เหลือแม้แต่ซาก ท้ายที่สุดมีพ่อค้าหัวใสนำรถพวกนี้มาซ่อมแล้วขายได้กำรี้กำไรเป็นกองจนร่ำรวยขยายกิจการกลายเป็นบริษัทนำเข้ารถยนต์จากยุโรปหลายยี่ห้อเพียงรายเดียวของสยามเมืองยิ้ม เรื่องนี้มีแต่คนวงในรุ่นเดอะเท่านั้นคงรู้ดี เด็กรุ่นใหม่ๆ ไฉไลยามเข้าเมืองกรุงคงไม่ใส่ใจจะเรียนรู้

ไหนๆ ก็เข้าเรื่องทหารอเมริกันเต็มบ้านเต็มเมืองในสมัยนั้นได้สร้างบรรยากาศใหม่ๆ ให้กับเมืองไทยตามแหล่งที่มีฐานทัพและบางกอกไว้มากมาย

นอกเหนือจากฐานทัพหลักๆ ยังมีฐานทัพลับที่อเมริกาสร้างไว้ในไทย การสร้างฐานทัพหลักแถบอีสานเนื่องจากใกล้เวียตนาม สงครามในเวียตนามเป็นยุทธศาสตร์หลัก ส่วนลาวนั้นเป็นสมรภูมิของการรบนอกแบบซึ่งกองทัพอเมริกันส่งหน่วยรบพิเศษเข้าไปทำศึก อีกทั้งยังได้ขอกำลังทหารอาสาจากประเทศไทยเข้าไปช่วยทำการรบในลาว มีการรับสมัครคนไทยหากจบ ม.ศ. 5 จะได้ติดยศร้อยตรี นี่เป็นอีกหนึ่งโปรโมชั่น

ส่วนบรรดาพลทหารถูกส่งไปรบที่เวียตนามนั่งรถบัสมาลงเรือที่ท่าเรือคลองเตย ไปกันแต่ละล็อตนับพันคนประเมินจากรถบัสวิ่งเรียงแถวผ่านไปนับหลายสิบคัน บรรดาญาติพี่น้องเป็นห่วงเป็นใยทีี่มาส่งก็โบกมือลากันจนเรือล่องไปลิบตา

การส่งทหารไทยไปสู่สมรภูมิเวียตนามมีเส้นมีสายกลในพอประมาณ หลายรายไปแต่ชื่อ หากไม่ไปแต่ชื่อก็ไม่ต้องออกสนามรบ รับหน้าที่พลาธิการบ้าง หน่วยปลอบขวัญบ้าง ฝ่ายธุรการบ้าง ส่วนเงินรับเป็นดอลล่าร์สหรัฐฯ จากกองทัพอเมริกา กอบโกยรายได้เป็นกอบเป็นกำกลับบ้านเกิด พรรคพวกรุ่นพี่ท่านหนึ่งเปรยให้ฟังเพราะท่านไปแต่ชื่อ

ส่วนหนุ่มสาวบ้านนอกบ้านนาอพยพเข้ามาขุดทองต้องทิ้งถิ่นกำเนิด หลีกหนีความจนตามประสาประเทศด้อยพัฒนาที่พยายามจะยกระดับครั้งแล้วครั้งเล่าเข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนา นับวันยิ่งถอยหลังเข้าคลองเข้าไปทุกปีๆ จนถึงวันนี้

เรื่องการเงินการทองยุคนั้นเงินสะพัดกันเป็นว่าเล่นอันเนื่องมาจาก บางกอกกลายเป็นแหล่งพักผ่อนของบรรดาทหารอเมริกันที่พักรบมาจากสงครามเวียตนาม อพาร์ตเม้นท์-แฟลตถือกำเนิดมากมายในยุคนี้เฉกเช่นเดียวกับบาร์อะโกโก้-คาเฟ่แลอาบ-อบ-นวดผุดกันก็ในยุคนี้

แหล่งหลักในบางกอกก็ถนนเพชรบุรีตัดใหม่นั่นล่ะ เกิดขึ้นเพื่อรองรับทหารอเมริกันพักรบ ส่วนที่โคราช, น้ำพองขอนแก่น, อุดรธานี, นครพนม, อุบลราชธานี, ตาคลี นครสวรรค์, อู่ตะเภา ชลบุรี ฯลฯ ยังหลงเหลือคราบไคลของอนุสรณ์จากสงครามเวียตนาม

ไม่ว่าจะเป็น “ข้าวนอกนา” รถจี๊ฟจนมีกลุ่มนิยมรถจี๊ฟในเมืองต่างๆ ที่ว่ามาหรือบาร์ของทหารผิวหมึกซึ่งนักบินพวกนี้จะขับเฉพาะเครื่องใบพัด นักบินผิวขาวจะขับเครื่องไอพ่น

นอกจากนี้ยังเกิดนักร้องนักดนตรีดังจากยุคนี้ อาทิ เเหลม มอริสันที่ไปโด่งดังในค่ายทหารอเมริกัน ส่วนที่อุดรซึ่งเคยจัดเทศกาลดนตรีเลียนแบบวู๊ดสต็อคมาแต่ครั้งกระนั้น กลายเป็นอีกหนึ่งตำนานดนตรีไทยที่คนรุ่นหลังคงไม่ค่อยได้ทราบกันซะเท่าไหร่

ขบวนกล่อมขวัญถูกสั่งตรงจากอเมริกาไม่ว่าจะเป็น บ็อบ โฮปหรือซูซี่ คิวและอีกหลากหลายวงทั้งอันเดอร์กราวน์, ป็อปและร็อค ผลงานของทหารอเมริกาที่ฝากทิ้งไว้ในไทยมีมากมาย จนถึงทุกวันนี้ ไหนจะสร้างดารา+นางงามลูกครึ่งไว้เพียบ ลูกๆหลานๆ ลูกครึ่งพวกนี้ทานขนมปังทาเนยจิ้มปลาร้าแซ่บอย่างบอกใครเชียว

“ข้าวนอกนา” แข่งกันเกิดเต็มไปหมด เด็กผมทองผมหยิกทั้งผิวดำผิวขาวแทรกตัวเข้ามาในสังคมไทยก็ยุคนี้ที่บรรดาสาวบ้านนาเข้าเมืองเพื่อล่ารางวัลชีวิตกับเงินๆ ทองๆ แต่งงานแต่งการกับทหารอเมริกันชีวิตพลิกผันภายในเวลาอันรวดเร็วจากเด็กบ้านนอกตัวดำเมี่ยมกลายเป็นสาวสมัยใส่รองเท้าบูท นุ่งกระโปรงซุ่มไก่ “คุณนายเมียฝรั่ง” นั่งกระดิกนิ้วชี้นิ้วกับบ้านหลังโต เจรจาฟุตฟิตฟอไฟจ้อ

อันเนื่องมาจากรถอเมริกันที่นำเข้ามาเป็นพวงมาลัยซ้าย เวลาแล่นบนถนนเมืองไทยก็อย่างว่าล่ะ จังหวะที่จะแซงก็ต้องให้สาวเจ้าคอยลุ้นไปตลอดทาง ช่วงเร่งแซงทำท่าจะไม่พ้นคันหน้า “Have Car Garden Come” คำนี้หลุดจากปากของสาวเจ้าด้วยใจจดใจจ่อ แต่อเมริกันชนก็เข้าใจภาษาโดยปริยาย

ไปไม่พ้นเรื่องราวของทหารอเมริกัน ว่าแล้วก็เข้าเรื่องบรรดาคนหากินกับธุรกิจสงครามจนร่ำรวยกันเป็นทิวแถว ตำรวจ, ทหารหลายคนร่ำรวยกันเป็นว่าเล่นจากธุรกิจค้าอาวุุธ ที่พอจะเข้าใจก็พวกๆ ผู้บรรเลงเองนี่ล่ะคร๊าบบบบท่าน…ไม่ต่างกับนักการเมือง

อย่างท่านทวิช กลิ่นประทุม รับงานใหญ่กลายเป็นเจ้าสัวภายในพริบตาจากการรับขนอาวุธจากท่าเรือคลองเตยและอู่ตะเภาไปยังฐานทัพอากาศของอเมริกา เติบโตจากชิปปิ้งวิ่งเอกสารระหว่างกรมศุลกากรและท่าเรือคลองเตย ขยับไปมีรถบรรทุกสินค้าจนมารับงานขนอาวุธที่บรรทุกมาทางเรือจะห่อหุ้มป้องกันการกระทบกระแทกมาอย่างดี อย่างลูกระเบิดขนาดเขื่อง MK 82 ขนาด 500 ปอนด์ห่อหุ้มด้วยโฟมชนิดหนาบรรจุมาในคอนเทนเนอร์

โฟมพวกนี้ทิ้งกันเกลื่อนแถวท่าเรือคลองเตย บรรดาเด็กๆ เอามาเล่นเป็นเรือกันสนุกสนานตามบึงตามคลองซึ่งมีขนาดใหญ่นั่งได้ ๕-๖ คนแบบสบายๆ

และแล้วเข้าสู่วงการเมือง (จนได้) ตั้งพรรคธรรมสังคมจนประสบความสำเร็จทางการเมือง เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดราชบุรี ก้าวสู่รองนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยหลายสมัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เรื่องกิจการขนอาวุธข้ามทวีปนี่ต้องยกให้ DHL ที่รับกิจการขนส่งกับกองทัพสหรัฐฯ ไปยังฐานทัพต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นฟิลิปปินส์, เกาะกวม, เวียตนามและไทยมาตั้งแต่ยุคนั้น

ส่วนคนดังจากอดีตชิปปิ้งเข้าสู่แวดวงบันเทิง กำธร ทัพคัลไลก็อีกท่านหนึ่ง สมัยท่านหนุ่มๆ หล่อเฟี้ยวทีเดียวเชียวล่ะ นุ่งกางเกงขาบาน เสื้อฟิตเปรี๊ยะ ขับรถสปอร์ตไทร์อัมพ์สีเขียวซึ่งยุคสมัยนั้นใครได้ขี่สปอร์ตรุ่นนี้เล่นเอา “สาวสะกิดแม่”

มาเห็นอีกที อ้าว ! กลายเป็นผู้สร้างหนังจอใหญ่ไปซะแล้ว “ทายาทป๋องแป๋ง” เข้าฉายที่โรงหนังแถวประตูน้ำ “เพชรราม่า” โรงเดียวกับที่ฉายหนังฝรั่งที่มีเด็กเป็นตัวแสดงคู่กับรถคลาสสิคบินได้ จะเรื่องอะไรล่ะ Chitty Chitty Bang Bang หนังโด่งดังในยุคนั้น เด็กๆ ได้ดูแล้วหลับฝันยันสว่างคาตา

ไพโรจน์ ใจสิงห์ ท่านก็มาจากอดีตชิปปิ้งอีกรายที่ใช้ชีวิตทำมาหากินอยู่แถวกรมศุลกากร มาเจออีกทีที่หน้าจอโทรทัศน์ กลายเป็นพระเอกหนังบู๋ไปซะอีกราย

ส่วนบรรดาอดีตอธิบดีกรมศุลกากรไม่ต้องกล่าวถึงความร่ำรวยมหาศาลเพราะเป็นแหล่งทำเงินเข้าประเทศรายใหญ่ อะไรๆ ก็เข้ามาหาเอง ละไว้เท่านี้แล้วกันเพราะมันเป็นประเพณียันวันนี้ ยกเว้นบางท่านที่ “ใจซื่อมือไม่คด”

อาทิ พระยาอนุมานราชธน อัจฉริยะบุคคลระดับโลกชาวไทย ไม่ทราบด้วยเหตุใด คงไม่เข้าทางยุคการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2476 ท่านถูกโยกข้ามห้วยไปเป็นอธิบดีกรมศิลปากร บ้านพักอาศัยของท่านเกินกว่าจะเรียกว่าคลาสสิคอยู่ในซอยอนุมานราชธน ถนนสีลมที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีเยี่ยม

แถบละแวกคลองเตยไล่กันตั้งแต่ถนนพระราม ๔ ไปยันสุดทางเข้าท่าเรือคลองเตย เกลื่อนกราดไปด้วยร้านอาหาร, ร้านเหล้า, บาร์ทั้งไทย-ฝรั่ง, ตลาดสดและตลาดโต้รุ่ง ว่าเรื่องรถไปแล้วเข้าเรื่องเหล้าซะบ้าง ขอเวลาไปชงเหล้าสักครู่ ราวๆ อาทิตย์หน้ามาว่ากันต่อแล้วกัน ชักติดลมบนออกไปซ่าส์ปล่อยแก่ดื่มด่ำแสงสีขมุกขมัวสลัวๆ ตามประสาคนยังมีไฟ บ๊ายบายเด้อคร๊าบบบบ…โซเซกลับมาแล้วจะเล่าต่อ

อาลิ้ม ณ โรงภาษี-บรรเลง

กว่าจะเข้าเรื่องเมืองบางกอกแต่หนหลัง ตอนที่ ๒ ล่วงเลยมาเป็นหลายเมา ตามวิถีของคนปูนนี้ ด้วยติดหนึบติดหนับกับแวดวงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตั้งแต่วิกฤติ "ยูเครน" ตามมาก็สาวเจ้า "ประธานรัฐสภาของสหรัฐอเมริกาเยือน "ไต้หวัน" เข้าให้ ประมาณว่า "พญาอินทรีย์โฉบพญามังกร"

ว่าแล้วก็ร่ายบรรเลงเรื่องความหลัง อันเมืองกรุงแต่ปางก่อนเขาว่ากันว่า น้ำในคลองใสสะอาดถึงขนาดกับเอามาแปรงฟันได้เลยเชียวล่ะ

ส่วนกุ้งหอยปูปลามีแทบล้นคลองไปที่ไหนก็เจอเต็มเปี่ยมตามธรรมชาติ วันดีคืนดีฝนตกลงมาปลาขึ้นมาบนถนนเกลื่อนไปหมด ชาวบ้านชาวช่องวิ่งไล่จับใส่กระด้งเอามาแกงส้มแจกกันทั่วท้้งหมู่บ้าน แบ่งสรรปันส่วนกันด้วยน้ำจิตน้ำใจโอบอ้อมอารี บรรยากาศสงบปราศจากความวุ่นวาย แม้ว่าจะไม่มีเทคโนโลยี่ไฮ-เทคมากมาย แต่ชีวิตก็รื่นเริงรมณ์เสียเต็มประดา ขโมยขโจรไม่ค่อยมี

นึกถึงเรื่องของเทคโนโลยี่ก็อดคิดถึงตู้โทรศัพท์สมัยก่อนไม่ได้ ตู้โทรศัพท์สาธารณะจะเป็นสีแดงซึ่งหายากมาก ส่วนโทรศัพท์บ้านยิ่งหายากเข้าไปอีกเพราะการขอโทรศัพท์จากองค์การโทรศัพท์ชาติไทยสมัยนั้นช่างยากเย็นเสียเกินกว่าจะบรรยาย

ไปกรอกใบขอโทรศัพท์หลายปีกว่าจะได้ ถ้าแบบขอเร่งด่วนก็เสียค่าธรรมเนียม 30,000 บาทต้องรอแบบไม่มีกำหนดนะ ถ้าขอแบบปกติก็ 10,000 บาทอาจรอถึงชาติหน้า ท้ายที่สุดบริษัทเอกชนเข้าไปรับสัมประทาน โทรศัพท์บ้านจึงเกลื่อนเมืองแล้วก็หดหายไปตามกาลเวลาเมื่อถึงคิวของมือถือเข้าครองพื้นที่

ตู้โทรศัพท์สาธารณะต้องแลกเหรียญแบบสตางค์รูทำจากทองแดงราคา 75 สตางค์แล้วไปหยอดตู้ที่ตั้งอยู่ติดกับร้านแลกเหรียญ ส่วนตัวเลขจะมีเพียง 5 ตัว ขณะที่ราคาทองคำยุคนั้นบาทละ 400 วันไหนมีเงินติดตัว 20 บาทหากินเที่ยวได้ทั้งวัน

ค่ารถเมล์แค่ 50 สตางค์ ค่ารถรางแบ่งเป็น 2 ฝาก ๆ ที่มีเบาะนั่ง 50 สตางค์ ส่วนฝากพื้นไม้ไม่มีเบาะ 25 สตางค์ ก๋วยเตี๊ยวหรือข้าวราดแกงก็แค่ 50 สตางค์แถมน้ำแข็งเปล่าฟรี บ้านเมืองสงบสุข เศรษฐกิจไม่ตกสะเก็ด อาคารสูงยังไม่เกิด บ้านช่องส่วนใหญ่สร้างด้วยไม้ การล็อคประตูหน้าต่างแบบที่โบร่ำโบราณเรียกกันว่า "ลั่นดาน"

ยุคนั้นลูกบิดไม่มีให้เห็น แถมยังมีระบบเซ็นทรัลล็อคหรือ "ลั่นดานรวม" ท่านผู้อ่านนึกภาพกันเอาเองแล้วกัน ผู้บรรเลงอธิบายให้เห็นภาพยากจัง "ภูมิปัญญาชาวบ้าน" ช่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง

เข้าเรื่องรถเรื่องรายังไม่มีวิ่งกันเกลื่อนเมือง ควันพิษจึงมีน้อยมาก อากาศสะอาดหายใจสดชื่นรื่นรูจมูก รถส่วนใหญ่มาจากฝากฝั่งอเมริกาและยุโรป

ส่วนรถจากญี่ปุ่นตามเข้ามาทีหลังยังเป็นรถระดับบ้านๆ ยังไม่มีรถหรูคันโก้ รถจากฝากฝั่งยุโรปมีมากกว่ารถจากอเมริกา ไล่กันตั้งแต่ ฮิลแมน, โฟล์คสวาเก้น, ออดี้, บีเอ็มดับเบิ้ลยู, เมอเซเดส-เบนซ์, เฟี๊ยต, ออสติน, ฟอร์ดจากอังกฤษ, ไทรอัมพ์, เอ็ม.จี, เรโนลย์ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกว่า "รถเรณู" และซีตรองเป็นต้น ส่วนรถจากยุโรปตะวันออกอย่าง เอ็น.เอส.ยู. มีให้เห็นอยู่บ้างประปราย

ส่วนรถแท็กซี่ก็จะเป็นยี่ห้อออสตินแลยี่ห้อฟอร์ด รถเฟี๊ยตก็พอมีบ้าง ก่อนจะมีนิสสัน บลูเบิร์ดเข้ามาครองจ้าวตลาดรถแท๊กซี่

เจ้ารถออสตินนี่มีจุดเด่นก็ตรงที่มีไฟเลี้ยวอยู่ตรงเสากลางด้านข้าง เวลาเปิดไฟเลี้ยวจะมีก้านแขนยื่นออกมาและสัญญาณไฟกระพริบ พอปิดไฟเลี้ยวเจ้าก้านแขนจะพับเก็บเข้าที่

ส่วนเจ้ารถคันใหญ่คันยาวโก้หรูมาวิ่งกันเกลื่อนเมืองก็เข้ายุคสงครามเวียตนาม มาพร้อมกับกองทัพอเมริกา ทั้งคาดิลแลค, ฟอร์ด, เชฟโรเลทและลินคอล์น ฯลฯ มีทั้งแบบซีดาน, สปอร์ตคูเป้และวาก้อน

รถพวกนี้เต็มเปี่ยมนวัตกรรมยานยนต์ที่ประเคนเข้าไปไว้ในรถเต็มที่เลยทีเดียว ส่วนรถบัสก็มีเข้ามาบ้างไว้รับส่งลูกๆ หลานๆ ทหารอเมริกันไปเรียนที่โรงเรียนนานาชาติที่ชื่อว่า โรงเรียนบางกอกพัฒนาก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500 อยู่ที่เพลินจิตก่อนจะย้ายมาอยู่ช่องนนทรีแถบถนนเชื้อเพลิงหรือชาวบ้านเรียกกันว่าสะพานดำ

เนื่องจากมีสะพานข้ามคลองสำหรับรถไฟสีดำตรงถนนพระราม ๔ ล่าสุดโรงเรียนนานาชาติแห่งนี้ย้ายไปอยู่ซอยลาซาลราว 20 ปีที่ผ่านมา รถบัสพวกนี้ใช้ปุ่มกดสตาร์ทอยู่บริเวณเท้า ส่วนรถบรรทุกและรถจี๊ฟก็พอมีให้เห็นพอควร ยี่ห้อดอดจ์จะเป็นรถบรรทุกแกร่งแข็งสุดๆ

รถอเมริกันเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นเกียร์ออโต้ ไฟหน้าแบบป็อปอัพมีให้เห็นหลายรุ่น ไฟหน้าปรับไฟสูง-ต่ำอัตโนมัติ ส่วนเครื่องยนต์ก็แบบ วี-8 สูบ ขนาด 5,000 ซีซี. หลายต่อหลายรุ่น

หลังจากถอนทัพกลับ รถพวกนี้จอดทิ้งกันเกลื่อนเพราะราคาตกต่ำสุดๆ คันละหมื่นกว่าบาทยังจอดแช่ตามเต๊นท์รถนานนับปีไม่มีใครกล้าซื้อ เนื่องจากราคาน้ำมันขยับขึ้นอย่างรวดเร็วและรถพวกนี้ซดน้ำมันยิ่งกว่าสามล้อถูกหวยซดเหล้าขาวหรือยกระดับหรูขึ้นไปหน่อยก็ซดน้ำสีอำพันอย่างกวางทองที่มีสโลแกนชาวบ้านชาวช่องเรียกขานว่า "กวางทองน้องแม่โขง" ด้วยเหตุที่ราคาถูกกว่า

รถอเมริกันพวกนี้อะไหล่หายากแถมราคาแพงต้องสั่งซื้อจากเมืองนอกเมืองนาที่สำคัญหาช่างซ่อมยากเย็น เพราะเทคโนโลยี่ไฮเทค ยุคนั้นเต๊นท์รถยังไม่มากเหมือนสมัยนี้ที่เต็มไปหมดเติบโตดั่งดอกเห็ดแทบทุกซอกซอย

ท้ายที่สุดป่าช้ารถยนต์ก็ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในบางกอกเมืองกรุงแถวถนนพระราม ๓ ถัดไปจากถนนนางลิ้นจี่ไปหน่อย สมัยโน้นถนนพระราม ๓ เงียบฉี่ดั่งป่าช้าไม่ค่อยมีชุมชนเรียกได้ว่าเป็นชานเมือง

ตรงนั้นรถอเมริกันจอดทิ้งจอดขว้างหลายร้อยคันไม่มีใครให้ความใส่ใจ ถ้าเป็นยุคนี้คงไม่เหลือแม้แต่ซาก ท้ายที่สุดมีพ่อค้าหัวใสนำรถพวกนี้มาซ่อมแล้วขายได้กำรี้กำไรเป็นกองจนร่ำรวยขยายกิจการกลายเป็นบริษัทนำเข้ารถยนต์จากยุโรปหลายยี่ห้อเพียงรายเดียวของสยามเมืองยิ้ม เรื่องนี้มีแต่คนวงในรุ่นเดอะเท่านั้นคงรู้ดี เด็กรุ่นใหม่ๆ ไฉไลยามเข้าเมืองกรุงคงไม่ใส่ใจจะเรียนรู้

ไหนๆ ก็เข้าเรื่องทหารอเมริกันเต็มบ้านเต็มเมืองในสมัยนั้นได้สร้างบรรยากาศใหม่ๆ ให้กับเมืองไทยตามแหล่งที่มีฐานทัพและบางกอกไว้มากมาย

นอกเหนือจากฐานทัพหลักๆ ยังมีฐานทัพลับที่อเมริกาสร้างไว้ในไทย การสร้างฐานทัพหลักแถบอีสานเนื่องจากใกล้เวียตนาม สงครามในเวียตนามเป็นยุทธศาสตร์หลัก ส่วนลาวนั้นเป็นสมรภูมิของการรบนอกแบบซึ่งกองทัพอเมริกันส่งหน่วยรบพิเศษเข้าไปทำศึก อีกทั้งยังได้ขอกำลังทหารอาสาจากประเทศไทยเข้าไปช่วยทำการรบในลาว มีการรับสมัครคนไทยหากจบ ม.ศ. 5 จะได้ติดยศร้อยตรี นี่เป็นอีกหนึ่งโปรโมชั่น

ส่วนบรรดาพลทหารถูกส่งไปรบที่เวียตนามนั่งรถบัสมาลงเรือที่ท่าเรือคลองเตย ไปกันแต่ละล็อตนับพันคนประเมินจากรถบัสวิ่งเรียงแถวผ่านไปนับหลายสิบคัน บรรดาญาติพี่น้องเป็นห่วงเป็นใยทีี่มาส่งก็โบกมือลากันจนเรือล่องไปลิบตา

การส่งทหารไทยไปสู่สมรภูมิเวียตนามมีเส้นมีสายกลในพอประมาณ หลายรายไปแต่ชื่อ หากไม่ไปแต่ชื่อก็ไม่ต้องออกสนามรบ รับหน้าที่พลาธิการบ้าง หน่วยปลอบขวัญบ้าง ฝ่ายธุรการบ้าง ส่วนเงินรับเป็นดอลล่าร์สหรัฐฯ จากกองทัพอเมริกา กอบโกยรายได้เป็นกอบเป็นกำกลับบ้านเกิด พรรคพวกรุ่นพี่ท่านหนึ่งเปรยให้ฟังเพราะท่านไปแต่ชื่อ

ส่วนหนุ่มสาวบ้านนอกบ้านนาอพยพเข้ามาขุดทองต้องทิ้งถิ่นกำเนิด หลีกหนีความจนตามประสาประเทศด้อยพัฒนาที่พยายามจะยกระดับครั้งแล้วครั้งเล่าเข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนา นับวันยิ่งถอยหลังเข้าคลองเข้าไปทุกปีๆ จนถึงวันนี้

เรื่องการเงินการทองยุคนั้นเงินสะพัดกันเป็นว่าเล่นอันเนื่องมาจาก บางกอกกลายเป็นแหล่งพักผ่อนของบรรดาทหารอเมริกันที่พักรบมาจากสงครามเวียตนาม อพาร์ตเม้นท์-แฟลตถือกำเนิดมากมายในยุคนี้เฉกเช่นเดียวกับบาร์อะโกโก้-คาเฟ่แลอาบ-อบ-นวดผุดกันก็ในยุคนี้

แหล่งหลักในบางกอกก็ถนนเพชรบุรีตัดใหม่นั่นล่ะ เกิดขึ้นเพื่อรองรับทหารอเมริกันพักรบ ส่วนที่โคราช, น้ำพองขอนแก่น, อุดรธานี, นครพนม, อุบลราชธานี, ตาคลี นครสวรรค์, อู่ตะเภา ชลบุรี ฯลฯ ยังหลงเหลือคราบไคลของอนุสรณ์จากสงครามเวียตนาม

ไม่ว่าจะเป็น "ข้าวนอกนา" รถจี๊ฟจนมีกลุ่มนิยมรถจี๊ฟในเมืองต่างๆ ที่ว่ามาหรือบาร์ของทหารผิวหมึกซึ่งนักบินพวกนี้จะขับเฉพาะเครื่องใบพัด นักบินผิวขาวจะขับเครื่องไอพ่น

นอกจากนี้ยังเกิดนักร้องนักดนตรีดังจากยุคนี้ อาทิ เเหลม มอริสันที่ไปโด่งดังในค่ายทหารอเมริกัน ส่วนที่อุดรซึ่งเคยจัดเทศกาลดนตรีเลียนแบบวู๊ดสต็อคมาแต่ครั้งกระนั้น กลายเป็นอีกหนึ่งตำนานดนตรีไทยที่คนรุ่นหลังคงไม่ค่อยได้ทราบกันซะเท่าไหร่

ขบวนกล่อมขวัญถูกสั่งตรงจากอเมริกาไม่ว่าจะเป็น บ็อบ โฮปหรือซูซี่ คิวและอีกหลากหลายวงทั้งอันเดอร์กราวน์, ป็อปและร็อค ผลงานของทหารอเมริกาที่ฝากทิ้งไว้ในไทยมีมากมาย จนถึงทุกวันนี้ ไหนจะสร้างดารา+นางงามลูกครึ่งไว้เพียบ ลูกๆหลานๆ ลูกครึ่งพวกนี้ทานขนมปังทาเนยจิ้มปลาร้าแซ่บอย่างบอกใครเชียว

"ข้าวนอกนา" แข่งกันเกิดเต็มไปหมด เด็กผมทองผมหยิกทั้งผิวดำผิวขาวแทรกตัวเข้ามาในสังคมไทยก็ยุคนี้ที่บรรดาสาวบ้านนาเข้าเมืองเพื่อล่ารางวัลชีวิตกับเงินๆ ทองๆ แต่งงานแต่งการกับทหารอเมริกันชีวิตพลิกผันภายในเวลาอันรวดเร็วจากเด็กบ้านนอกตัวดำเมี่ยมกลายเป็นสาวสมัยใส่รองเท้าบูท นุ่งกระโปรงซุ่มไก่ "คุณนายเมียฝรั่ง" นั่งกระดิกนิ้วชี้นิ้วกับบ้านหลังโต เจรจาฟุตฟิตฟอไฟจ้อ

อันเนื่องมาจากรถอเมริกันที่นำเข้ามาเป็นพวงมาลัยซ้าย เวลาแล่นบนถนนเมืองไทยก็อย่างว่าล่ะ จังหวะที่จะแซงก็ต้องให้สาวเจ้าคอยลุ้นไปตลอดทาง ช่วงเร่งแซงทำท่าจะไม่พ้นคันหน้า "Have Car Garden Come" คำนี้หลุดจากปากของสาวเจ้าด้วยใจจดใจจ่อ แต่อเมริกันชนก็เข้าใจภาษาโดยปริยาย

ไปไม่พ้นเรื่องราวของทหารอเมริกัน ว่าแล้วก็เข้าเรื่องบรรดาคนหากินกับธุรกิจสงครามจนร่ำรวยกันเป็นทิวแถว ตำรวจ, ทหารหลายคนร่ำรวยกันเป็นว่าเล่นจากธุรกิจค้าอาวุุธ ที่พอจะเข้าใจก็พวกๆ ผู้บรรเลงเองนี่ล่ะคร๊าบบบบท่าน...ไม่ต่างกับนักการเมือง

อย่างท่านทวิช กลิ่นประทุม รับงานใหญ่กลายเป็นเจ้าสัวภายในพริบตาจากการรับขนอาวุธจากท่าเรือคลองเตยและอู่ตะเภาไปยังฐานทัพอากาศของอเมริกา เติบโตจากชิปปิ้งวิ่งเอกสารระหว่างกรมศุลกากรและท่าเรือคลองเตย ขยับไปมีรถบรรทุกสินค้าจนมารับงานขนอาวุธที่บรรทุกมาทางเรือจะห่อหุ้มป้องกันการกระทบกระแทกมาอย่างดี อย่างลูกระเบิดขนาดเขื่อง MK 82 ขนาด 500 ปอนด์ห่อหุ้มด้วยโฟมชนิดหนาบรรจุมาในคอนเทนเนอร์

โฟมพวกนี้ทิ้งกันเกลื่อนแถวท่าเรือคลองเตย บรรดาเด็กๆ เอามาเล่นเป็นเรือกันสนุกสนานตามบึงตามคลองซึ่งมีขนาดใหญ่นั่งได้ ๕-๖ คนแบบสบายๆ

และแล้วเข้าสู่วงการเมือง (จนได้) ตั้งพรรคธรรมสังคมจนประสบความสำเร็จทางการเมือง เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดราชบุรี ก้าวสู่รองนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยหลายสมัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เรื่องกิจการขนอาวุธข้ามทวีปนี่ต้องยกให้ DHL ที่รับกิจการขนส่งกับกองทัพสหรัฐฯ ไปยังฐานทัพต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นฟิลิปปินส์, เกาะกวม, เวียตนามและไทยมาตั้งแต่ยุคนั้น

ส่วนคนดังจากอดีตชิปปิ้งเข้าสู่แวดวงบันเทิง กำธร ทัพคัลไลก็อีกท่านหนึ่ง สมัยท่านหนุ่มๆ หล่อเฟี้ยวทีเดียวเชียวล่ะ นุ่งกางเกงขาบาน เสื้อฟิตเปรี๊ยะ ขับรถสปอร์ตไทร์อัมพ์สีเขียวซึ่งยุคสมัยนั้นใครได้ขี่สปอร์ตรุ่นนี้เล่นเอา "สาวสะกิดแม่"

มาเห็นอีกที อ้าว ! กลายเป็นผู้สร้างหนังจอใหญ่ไปซะแล้ว "ทายาทป๋องแป๋ง" เข้าฉายที่โรงหนังแถวประตูน้ำ "เพชรราม่า" โรงเดียวกับที่ฉายหนังฝรั่งที่มีเด็กเป็นตัวแสดงคู่กับรถคลาสสิคบินได้ จะเรื่องอะไรล่ะ Chitty Chitty Bang Bang หนังโด่งดังในยุคนั้น เด็กๆ ได้ดูแล้วหลับฝันยันสว่างคาตา

ไพโรจน์ ใจสิงห์ ท่านก็มาจากอดีตชิปปิ้งอีกรายที่ใช้ชีวิตทำมาหากินอยู่แถวกรมศุลกากร มาเจออีกทีที่หน้าจอโทรทัศน์ กลายเป็นพระเอกหนังบู๋ไปซะอีกราย

ส่วนบรรดาอดีตอธิบดีกรมศุลกากรไม่ต้องกล่าวถึงความร่ำรวยมหาศาลเพราะเป็นแหล่งทำเงินเข้าประเทศรายใหญ่ อะไรๆ ก็เข้ามาหาเอง ละไว้เท่านี้แล้วกันเพราะมันเป็นประเพณียันวันนี้ ยกเว้นบางท่านที่ "ใจซื่อมือไม่คด"

อาทิ พระยาอนุมานราชธน อัจฉริยะบุคคลระดับโลกชาวไทย ไม่ทราบด้วยเหตุใด คงไม่เข้าทางยุคการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2476 ท่านถูกโยกข้ามห้วยไปเป็นอธิบดีกรมศิลปากร บ้านพักอาศัยของท่านเกินกว่าจะเรียกว่าคลาสสิคอยู่ในซอยอนุมานราชธน ถนนสีลมที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีเยี่ยม

แถบละแวกคลองเตยไล่กันตั้งแต่ถนนพระราม ๔ ไปยันสุดทางเข้าท่าเรือคลองเตย เกลื่อนกราดไปด้วยร้านอาหาร, ร้านเหล้า, บาร์ทั้งไทย-ฝรั่ง, ตลาดสดและตลาดโต้รุ่ง ว่าเรื่องรถไปแล้วเข้าเรื่องเหล้าซะบ้าง ขอเวลาไปชงเหล้าสักครู่ ราวๆ อาทิตย์หน้ามาว่ากันต่อแล้วกัน ชักติดลมบนออกไปซ่าส์ปล่อยแก่ดื่มด่ำแสงสีขมุกขมัวสลัวๆ ตามประสาคนยังมีไฟ บ๊ายบายเด้อคร๊าบบบบ...โซเซกลับมาแล้วจะเล่าต่อ

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!