ผลสำรวจชี้ Plug-in Hybrid ตัวเลือกอันดับหนึ่ง ธุรกิจสถานีชาร์จไฟฟ้าขยายตาม โดยสถานที่ตั้งเหมาะสมช่วยเร่งคืนทุน


ศูนย์วิจัยกสิกรไทย นำเสนอรายงานผลการสำรวจ ปีที่ 24 ฉบับที่ 2919 ประจำวันที่ 9 กรกฎาคม 2561 ดังนี้

• รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเริ่มมีบทบาทในไทยมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจะเห็นได้ชัดจากยอดขายรถยนต์ประเภทนี้ที่ได้รับการตอบรับที่ดีขึ้นเรื่อยๆ แผนการลงทุนจากต่างชาติที่เข้ามาในประเทศ การเตรียมความพร้อมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ สถานีชาร์จไฟฟ้า ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

• ทั้งนี้จากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่สนใจพิจารณารถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเป็นตัวเลือกหนึ่งในอนาคต ซึ่งรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากราคาเมื่อเทียบกับรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในรุ่นใกล้เคียงไม่สูงเกินกว่า 300,000 บาท โดยเหตุผลสำคัญที่สุดที่เลือกรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องการเติมเชื้อเพลิงเพราะสามารถเติมได้ทั้งน้ำมันและไฟฟ้า รองลงมาคือเรื่องความประหยัดค่าเชื้อเพลิง

• จำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้าที่เพียงพอ เป็นประเด็นที่ผู้บริโภคมีความกังวลมากที่สุด อย่างไรก็ตามเนื่องจากจำนวนรถขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าแบบที่ต้องเสียบชาร์จไฟนั้น ยังมีจำนวนน้อยมาก ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าจะมีเพียงราว 51,300 คัน ภายในปี 2562 ขณะที่มีสถานีชาร์จไฟฟ้าที่คาดว่าจะผุดตัวขึ้นตามเป้าในปีนี้กว่า 1,000 จุด ทำให้จำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้ามีมากเกินความต้องการในระยะ 1 ถึง 2 ปีนี้ โอกาสที่สถานีชาร์จไฟฟ้าจะสร้างรายได้เพื่อคืนทุนเองใน 1 ปี ในระยะแรกนี้นั้น จึงเป็นเรื่องยาก ดังนั้นความช่วยเหลือทางด้านการเงินในระยะแรกของการก่อตั้งจึงอาจเป็นสิ่งจำเป็น

ประเด็นสำคัญ

A รถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้ซื้อสนใจในอนาคต โดยเฉพาะปลั๊กอินไฮบริด

ปัจจุบัน รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ก้าวเข้ามามีบทบาทในตลาดรถยนต์ไทยมากขึ้น โดยจะเห็นได้จากทั้งการลงทุนประกอบรถยนต์และชิ้นส่วนของค่ายผู้ผลิตที่มีความชัดเจนมากขึ้นตามลำดับ รวมถึงการขยายเครือข่ายสถานีชาร์จไฟฟ้า ควบคู่ไปกับการให้ความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมาก ทำให้ภาพของตลาดรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าเริ่มมีความชัดเจนขึ้นในสายตาของผู้บริโภคมากกว่าในอดีต โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2561 ยอดจดทะเบียนรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าอยู่ที่ 7,129 คัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าช่วงเดียวกันในปีก่อนประมาณ 59% และมีแนวโน้มจะปรับเพิ่มขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง หลังคาดว่าจะมีรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ เปิดตัวออกมา โดยเฉพาะเมื่อทิศทางความต้องการรถยนต์ในตลาดโลกกำลังหันไปหารถยนต์ประเภทดังกล่าว ทำให้ไทยในฐานะผู้ผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของโลก มีการส่งออกรถยนต์ที่ผลิตได้ไปต่างประเทศสูงถึงกว่า 57% และเมื่อผนวกกับความได้เปรียบต่างๆ ในการลงทุนในไทยที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ไทยได้รับอานิสงส์โดยการลงทุนจากค่ายรถที่เริ่มไหลเข้ามาอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับแนวโน้มความต้องการของตลาดรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าในไทย หลังจากที่ผู้บริโภคได้รับรู้เกี่ยวกับข้อมูลของรถยนต์ประเภทนี้มาบ้างแล้วพอสมควร เพื่อศึกษาประเด็นความคาดหวังของผู้บริโภค โดยผลที่ได้จากการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่กว่า 75% แสดงความสนใจที่จะพิจารณาให้รถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นตัวเลือกหนึ่งหากจะซื้อรถยนต์ในอนาคต (เกินกว่า 1 ปี) ส่วนผู้บริโภคที่คิดจะซื้อรถยนต์ภายในช่วง 1 ปีนี้ ซึ่งแม้จะมีสัดส่วนราว 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด แต่กว่า 55% สนใจจะพิจารณารถยนต์ในกลุ่มรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นทางเลือกหนึ่ง หากมีตัวเลือกที่น่าสนใจมานำเสนอ และกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนผู้บริโภคที่สนใจซื้อรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้านั้น เลือกรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากราคาสูงกว่ารถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในรุ่นใกล้เคียง ไม่เกินกว่า 300,000 บาท ซึ่งเหตุผลสำคัญที่สุดที่เลือกรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องการเติมเชื้อเพลิงเพราะสามารถเติมได้ทั้งน้ำมันและไฟฟ้า รองลงมาคือเรื่องความประหยัดค่าเชื้อเพลิง

จากผลสำรวจดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคมีมุมมองที่เปิดกว้างมากขึ้นแล้วกับรถยนต์ที่ต้องเติมพลังงานรูปแบบอื่น นอกเหนือจากน้ำมันและก๊าซเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน โดยจากผลสำรวจพบว่าเหตุผลด้านความประหยัดค่าเชื้อเพลิงเป็นเหตุผลลำดับต้นๆ ที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าทุกประเภท สอดคล้องกับที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้คำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและค่าบำรุงรักษาเฉลี่ย 10 ปี ของรถยนต์แต่ละประเภทในรุ่นที่ใกล้เคียงกันไว้ โดยพบว่าหากมองเฉพาะเพียงค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและค่าบำรุงรักษา รถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าทุกประเภทมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในระยะ 10 ปี ที่ต่ำกว่ารถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน

ประเภทรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่ผู้บริโภคสนใจซื้อในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในอนาคตของรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้ายังมีความไม่แน่นอน จากความเปลี่ยนแปลงของระดับราคาแบตเตอรี่ ที่ขึ้นอยู่กับความเร็วในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต ความสามารถในการหาวัตถุดิบใหม่ๆ เพื่อลดแรงกดดันจากการขาดแคลนวัตถุดิบปัจจุบัน ซึ่งจะกลายมาเป็นแร่หายากมากขึ้นในอนาคต โดยการพัฒนาแบตเตอรี่ให้เก็บพลังงานได้มากขึ้นต่อการชาร์จ 1 ครั้งของค่ายรถในปัจจุบัน ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และจากข้อมูลในวงการยานยนต์คาดว่า ภายในอีกไม่กี่ปีต่อจากนี้ ค่ายรถยนต์ที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่อาจมีโอกาสได้ใช้แบตเตอรี่ Solid-state lithium-ion ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งคาดว่าจะมีความจุของระดับพลังงานที่สูงขึ้น ทำให้สามารถวิ่งได้ในระยะไกลกว่าเดิม และทำให้ตลาดรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าก้าวล้ำไปอีกขั้น

อนึ่ง แม้รถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าจะมีโอกาสในตลาดมากขึ้นจากมุมมองของผู้บริโภคดังกล่าว ทว่าด้วยความกังวลในเรื่องของความสะดวกในการหาพลังงานสำรองกรณีฉุกเฉินระหว่างการเดินทาง ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ ที่แม้จะมีความประหยัดมากกว่าในเรื่องของค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และการดูแลรักษาอื่นๆ แต่กลับได้รับการตอบรับที่น้อยกว่ารถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดค่อนข้างมาก โดยพบว่ามีเพียง 18% ของผู้บริโภคที่ร่วมตอบแบบสอบถามที่สนใจซื้อรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ในอนาคต สอดคล้องกับผลจากแบบสอบถามของศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่พบว่า ปัจจัยที่เป็นความกังวลสูงสุด 3 อันดับแรกที่ทำให้ผู้บริโภคอาจไม่เลือกซื้อรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า แม้จะมีเข้ามาทำตลาดในอนาคต คือ สถานีชาร์จไฟฟ้าที่ยังมีไม่ทั่วถึง ตามด้วยราคารถยนต์ที่ค่อนข้างสูง และการใช้เวลานานในการชาร์จไฟฟ้าตามลำดับ ซึ่งประเด็นสำคัญที่สุดที่ผู้บริโภคมอง คือ ความมีอยู่อย่างเพียงพอของจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้านั้น หากผู้ประกอบธุรกิจให้บริการชาร์จไฟฟ้ามีการพัฒนาเครือข่ายมากขึ้น อาจทำให้มุมมองของผู้บริโภคต่อประเภทรถที่สนใจเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมตลาดรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ให้เติบโตได้เต็มศักยภาพในอนาคตอันใกล้

ธุรกิจสถานีชาร์จไฟฟ้าเติบโตรวดเร็ว…แต่ยังต้องได้รับการช่วยเหลือทางการเงินค่อนข้างมาก

ในการผลักดันให้ตลาดรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าแบบที่ต้องชาร์จไฟเกิดขึ้นในวงกว้าง การวางโครงข่ายสถานีชาร์จไฟฟ้าที่กระจายตัวอย่างทั่วถึง เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานที่ยืดหยุ่นได้ตามปริมาณรถที่จะเพิ่มขึ้นในตลาดเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งทั้งสองปัจจัย คือ จำนวนรถ และจำนวนสถานี จะต้องเติบโตไปคู่กัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคว่าสถานีชาร์จไฟฟ้ามีจำนวนมากเพียงพอ และจะไม่เป็นปัญหาหากเกิดเหตุฉุกเฉิน รวมถึงเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าแบบที่ต้องชาร์จไฟในอนาคต ทว่าจากสถานการณ์ปัจจุบันที่สถานีชาร์จไฟฟ้ามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจากแผนของทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะลงทุนสถานีชาร์จไฟฟ้ารวมกันมากกว่า 1,000 สถานี (Normal Charge และ Fast Charge) ภายในสิ้นปี 2561 นี้นั้น อาจมีจำนวนที่เยอะกว่าความต้องการจริงในปัจจุบันมาก ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในธุรกิจโดยเฉพาะในช่วง 1 ถึง 2 ปีแรกที่จำนวนรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าแบบที่ต้องชาร์จไฟยังมีจำนวนไม่มาก

ทั้งนี้จากการออกแบบสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยินดีที่จะจ่ายเงินประมาณ ไม่เกิน 1.5 บาท/กิโลเมตร สำหรับการชาร์จไฟฟ้าในสถานีให้บริการ ด้วยอัตราค่าไฟดังกล่าวศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่าการที่สถานีชาร์จไฟฟ้า (Fast Charge) จะคืนทุนภายในระยะเวลา 1 ปี และสามารถดำเนินธุรกิจได้ด้วยตนเองโดยไม่พึ่งเงินสนับสนุนจากภายนอก จำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้าที่เหมาะสมในพื้นที่กรุงเทพฯควรมีจำนวนน้อยกว่า 1,000 แห่ง ภายใต้สถานการณ์ที่คาดว่าปริมาณรถยนต์ส่วนบุคคลและรถสาธารณะ (แท็กซี่และตุ๊กตุ๊ก) ชนิดที่ต้องเสียบชาร์จไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯที่จะมีจำนวนราว 50,000 คัน และ 1,300 คัน ภายในปี 2562 ตามลำดับ

สมมติฐานการดำเนินธุรกิจสถานีชาร์จไฟฟ้า

1. สถานีชาร์จไฟฟ้าแบบสาธารณะ (Fast Charge) 2 หัวจ่าย ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการตกแต่งงานด้านสถาปัตย์ และ Main Power Supply & Transformer รวมถึงต้นทุนการดำเนินงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่ต้นทุนค่าไฟฟ้า และกำหนดให้สถานีชาร์จอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ โดยคิดต้นทุนค่าไฟจากการไฟฟ้านครหลวงด้วยอัตราการใช้ไฟฟ้าตามช่วงเวลา (TOU) ช่วง Peak สูงสุด 5.7982 บาทต่อหน่วย และช่วง Off Peak สูงสุด 2.6369 บาทต่อหน่วย

2. พฤติกรรมการใช้รถต่างกัน โดยในเขตกรุงเทพฯรถแท๊กซี่ไฟฟ้ามีระยะวิ่งเฉลี่ย 250 กม./วัน (รถแท๊กซี่ไฟฟ้าที่นำมาพิจารณาเป็นรถยนต์นำเข้าจากต่างชาติสามารถวิ่ง 320 กม. ต่อการชาร์จไฟฟ้าเต็ม 1 ครั้ง) และรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ามีระยะวิ่งเฉลี่ย 85 กม./วัน ต่างกับรถยนต์ส่วนบุคคลแบบปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ มีระยะวิ่งด้วยพลังงานไฟฟ้าล้วนเฉลี่ย 27 กม./วัน

3. พฤติกรรมในการชาร์จไฟฟ้าต่างกัน โดยรถยนต์ส่วนบุคคลมีแนวโน้มที่จะชาร์จไฟฟ้าจากที่พักอาศัย ซึ่งมีอัตราค่าไฟถูกกว่า และจะชาร์จไฟนอกที่พักอาศัยต่อเมื่อจำเป็น โดยจากแบบสำรวจผู้บริโภคส่วนใหญ่มองว่าจะชาร์จไฟนอกบ้าน 3 วัน/ครั้ง รวมถึงชาร์จไฟในปริมาณที่เพียงพอต่อการเดินทางกลับที่พักเท่านั้น ต่างกับรถสาธารณะที่น่าจะมีความจำเป็นต้องชาร์จไฟฟ้าจากสถานีชาร์จทุกวัน และต้องชาร์จไฟฟ้าจนถึงปริมาณสูงสุดที่จะชาร์จได้ในแต่ละครั้ง

ทำให้ธุรกิจสถานีชาร์จไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในช่วง 1 ถึง 2 ปีนี้ จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ และพันธมิตรทางธุรกิจค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามแนวทางหนึ่งที่ธุรกิจสามารถช่วยเหลือตนเองได้ คือ การพยายามเลือกตำแหน่งที่ตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดการเข้ามาใช้บริการในจำนวนที่มากพอ โดยพบว่า ยิ่งมีจำนวนรถสาธารณะไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ เช่น แท็กซี่ หรือตุ๊กตุ๊ก เข้าใช้บริการมากเท่าไร โอกาสในการคืนทุนจะเร็วขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ ในระยะยาวการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดให้เกิดการหมุนเวียนเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ เช่น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และซุปเปอร์มาเก็ต เป็นต้น

สำหรับในอนาคตถัดไป หลังจากที่รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเติบโตมากขึ้น และมีการใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในประเทศ สิ่งที่อาจจะเป็นความกังวลต่อเนื่อง ซึ่งภาครัฐจะต้องพิจารณาให้เกิดการพัฒนาขึ้น คือ การหาแหล่งผลิตไฟฟ้าที่ให้ปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงกระบวนการในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดมลพิษน้อย หรือไม่เกิดมลพิษเลย เช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ หรือชีวมวล เป็นต้น เพื่อให้การใช้รถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าไม่ได้เป็นต้นเหตุในการก่อให้เกิดมลพิษทางอ้อม

นอกจากนี้สำหรับ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องซึ่งคาดว่าจะมีโอกาสเปิดตลาดควบคู่ไปกับการเกิดของรถพลังงานไฟฟ้าในไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า นอกจากสถานีชาร์จไฟฟ้า จะเป็นธุรกิจหลักหนึ่งแล้ว ธุรกิจเสริมในสถานีชาร์จไฟฟ้าเพื่อสร้างความบันเทิงและการพักผ่อนรูปแบบต่างๆ ธุรกิจจัดการแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วของรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้า ธุรกิจซ่อมบำรุงรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้า เช่น รถ mobile service ธุรกิจพัฒนาแอพพลิเคชั่นใช้ร่วมกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ธุรกิจติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์และที่ชาร์จไฟฟ้า ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้า และธุรกิจผลิตวัตถุดิบน้ำหนักเบาทดแทนสำหรับชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น ยังเป็นประเภทธุรกิจต่างๆ ที่มีโอกาสเติบโตได้ดีไปพร้อมๆ กับการขยายตัวของตลาดรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า อย่างไรก็ตามการขยายตัวของตลาดรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ในไทย ยังมีแนวโน้มเดินหน้าแบบค่อยเป็นค่อยไปในช่วงระยะเริ่มต้น อาจทำให้ธุรกิจที่ได้รับประโยชน์บางธุรกิจอาจไม่ได้เติบโตอย่างรวดเร็วในระยะแรก

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย นำเสนอรายงานผลการสำรวจ ปีที่ 24 ฉบับที่ 2919 ประจำวันที่ 9 กรกฎาคม 2561 ดังนี้

• รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเริ่มมีบทบาทในไทยมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจะเห็นได้ชัดจากยอดขายรถยนต์ประเภทนี้ที่ได้รับการตอบรับที่ดีขึ้นเรื่อยๆ แผนการลงทุนจากต่างชาติที่เข้ามาในประเทศ การเตรียมความพร้อมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ สถานีชาร์จไฟฟ้า ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

• ทั้งนี้จากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่สนใจพิจารณารถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเป็นตัวเลือกหนึ่งในอนาคต ซึ่งรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากราคาเมื่อเทียบกับรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในรุ่นใกล้เคียงไม่สูงเกินกว่า 300,000 บาท โดยเหตุผลสำคัญที่สุดที่เลือกรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องการเติมเชื้อเพลิงเพราะสามารถเติมได้ทั้งน้ำมันและไฟฟ้า รองลงมาคือเรื่องความประหยัดค่าเชื้อเพลิง

• จำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้าที่เพียงพอ เป็นประเด็นที่ผู้บริโภคมีความกังวลมากที่สุด อย่างไรก็ตามเนื่องจากจำนวนรถขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าแบบที่ต้องเสียบชาร์จไฟนั้น ยังมีจำนวนน้อยมาก ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าจะมีเพียงราว 51,300 คัน ภายในปี 2562 ขณะที่มีสถานีชาร์จไฟฟ้าที่คาดว่าจะผุดตัวขึ้นตามเป้าในปีนี้กว่า 1,000 จุด ทำให้จำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้ามีมากเกินความต้องการในระยะ 1 ถึง 2 ปีนี้ โอกาสที่สถานีชาร์จไฟฟ้าจะสร้างรายได้เพื่อคืนทุนเองใน 1 ปี ในระยะแรกนี้นั้น จึงเป็นเรื่องยาก ดังนั้นความช่วยเหลือทางด้านการเงินในระยะแรกของการก่อตั้งจึงอาจเป็นสิ่งจำเป็น

ประเด็นสำคัญ

A รถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้ซื้อสนใจในอนาคต โดยเฉพาะปลั๊กอินไฮบริด

ปัจจุบัน รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ก้าวเข้ามามีบทบาทในตลาดรถยนต์ไทยมากขึ้น โดยจะเห็นได้จากทั้งการลงทุนประกอบรถยนต์และชิ้นส่วนของค่ายผู้ผลิตที่มีความชัดเจนมากขึ้นตามลำดับ รวมถึงการขยายเครือข่ายสถานีชาร์จไฟฟ้า ควบคู่ไปกับการให้ความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมาก ทำให้ภาพของตลาดรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าเริ่มมีความชัดเจนขึ้นในสายตาของผู้บริโภคมากกว่าในอดีต โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2561 ยอดจดทะเบียนรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าอยู่ที่ 7,129 คัน ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าช่วงเดียวกันในปีก่อนประมาณ 59% และมีแนวโน้มจะปรับเพิ่มขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง หลังคาดว่าจะมีรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ เปิดตัวออกมา โดยเฉพาะเมื่อทิศทางความต้องการรถยนต์ในตลาดโลกกำลังหันไปหารถยนต์ประเภทดังกล่าว ทำให้ไทยในฐานะผู้ผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของโลก มีการส่งออกรถยนต์ที่ผลิตได้ไปต่างประเทศสูงถึงกว่า 57% และเมื่อผนวกกับความได้เปรียบต่างๆ ในการลงทุนในไทยที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ไทยได้รับอานิสงส์โดยการลงทุนจากค่ายรถที่เริ่มไหลเข้ามาอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับแนวโน้มความต้องการของตลาดรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าในไทย หลังจากที่ผู้บริโภคได้รับรู้เกี่ยวกับข้อมูลของรถยนต์ประเภทนี้มาบ้างแล้วพอสมควร เพื่อศึกษาประเด็นความคาดหวังของผู้บริโภค โดยผลที่ได้จากการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่กว่า 75% แสดงความสนใจที่จะพิจารณาให้รถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นตัวเลือกหนึ่งหากจะซื้อรถยนต์ในอนาคต (เกินกว่า 1 ปี) ส่วนผู้บริโภคที่คิดจะซื้อรถยนต์ภายในช่วง 1 ปีนี้ ซึ่งแม้จะมีสัดส่วนราว 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด แต่กว่า 55% สนใจจะพิจารณารถยนต์ในกลุ่มรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นทางเลือกหนึ่ง หากมีตัวเลือกที่น่าสนใจมานำเสนอ และกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนผู้บริโภคที่สนใจซื้อรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้านั้น เลือกรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากราคาสูงกว่ารถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในรุ่นใกล้เคียง ไม่เกินกว่า 300,000 บาท ซึ่งเหตุผลสำคัญที่สุดที่เลือกรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องการเติมเชื้อเพลิงเพราะสามารถเติมได้ทั้งน้ำมันและไฟฟ้า รองลงมาคือเรื่องความประหยัดค่าเชื้อเพลิง

จากผลสำรวจดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้บริโภคมีมุมมองที่เปิดกว้างมากขึ้นแล้วกับรถยนต์ที่ต้องเติมพลังงานรูปแบบอื่น นอกเหนือจากน้ำมันและก๊าซเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน โดยจากผลสำรวจพบว่าเหตุผลด้านความประหยัดค่าเชื้อเพลิงเป็นเหตุผลลำดับต้นๆ ที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าทุกประเภท สอดคล้องกับที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้คำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและค่าบำรุงรักษาเฉลี่ย 10 ปี ของรถยนต์แต่ละประเภทในรุ่นที่ใกล้เคียงกันไว้ โดยพบว่าหากมองเฉพาะเพียงค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและค่าบำรุงรักษา รถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าทุกประเภทมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในระยะ 10 ปี ที่ต่ำกว่ารถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน

ประเภทรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่ผู้บริโภคสนใจซื้อในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในอนาคตของรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้ายังมีความไม่แน่นอน จากความเปลี่ยนแปลงของระดับราคาแบตเตอรี่ ที่ขึ้นอยู่กับความเร็วในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต ความสามารถในการหาวัตถุดิบใหม่ๆ เพื่อลดแรงกดดันจากการขาดแคลนวัตถุดิบปัจจุบัน ซึ่งจะกลายมาเป็นแร่หายากมากขึ้นในอนาคต โดยการพัฒนาแบตเตอรี่ให้เก็บพลังงานได้มากขึ้นต่อการชาร์จ 1 ครั้งของค่ายรถในปัจจุบัน ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และจากข้อมูลในวงการยานยนต์คาดว่า ภายในอีกไม่กี่ปีต่อจากนี้ ค่ายรถยนต์ที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่อาจมีโอกาสได้ใช้แบตเตอรี่ Solid-state lithium-ion ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งคาดว่าจะมีความจุของระดับพลังงานที่สูงขึ้น ทำให้สามารถวิ่งได้ในระยะไกลกว่าเดิม และทำให้ตลาดรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าก้าวล้ำไปอีกขั้น

อนึ่ง แม้รถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าจะมีโอกาสในตลาดมากขึ้นจากมุมมองของผู้บริโภคดังกล่าว ทว่าด้วยความกังวลในเรื่องของความสะดวกในการหาพลังงานสำรองกรณีฉุกเฉินระหว่างการเดินทาง ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ ที่แม้จะมีความประหยัดมากกว่าในเรื่องของค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และการดูแลรักษาอื่นๆ แต่กลับได้รับการตอบรับที่น้อยกว่ารถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดค่อนข้างมาก โดยพบว่ามีเพียง 18% ของผู้บริโภคที่ร่วมตอบแบบสอบถามที่สนใจซื้อรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ในอนาคต สอดคล้องกับผลจากแบบสอบถามของศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่พบว่า ปัจจัยที่เป็นความกังวลสูงสุด 3 อันดับแรกที่ทำให้ผู้บริโภคอาจไม่เลือกซื้อรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า แม้จะมีเข้ามาทำตลาดในอนาคต คือ สถานีชาร์จไฟฟ้าที่ยังมีไม่ทั่วถึง ตามด้วยราคารถยนต์ที่ค่อนข้างสูง และการใช้เวลานานในการชาร์จไฟฟ้าตามลำดับ ซึ่งประเด็นสำคัญที่สุดที่ผู้บริโภคมอง คือ ความมีอยู่อย่างเพียงพอของจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้านั้น หากผู้ประกอบธุรกิจให้บริการชาร์จไฟฟ้ามีการพัฒนาเครือข่ายมากขึ้น อาจทำให้มุมมองของผู้บริโภคต่อประเภทรถที่สนใจเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมตลาดรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ให้เติบโตได้เต็มศักยภาพในอนาคตอันใกล้

ธุรกิจสถานีชาร์จไฟฟ้าเติบโตรวดเร็ว…แต่ยังต้องได้รับการช่วยเหลือทางการเงินค่อนข้างมาก

ในการผลักดันให้ตลาดรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าแบบที่ต้องชาร์จไฟเกิดขึ้นในวงกว้าง การวางโครงข่ายสถานีชาร์จไฟฟ้าที่กระจายตัวอย่างทั่วถึง เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานที่ยืดหยุ่นได้ตามปริมาณรถที่จะเพิ่มขึ้นในตลาดเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งทั้งสองปัจจัย คือ จำนวนรถ และจำนวนสถานี จะต้องเติบโตไปคู่กัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคว่าสถานีชาร์จไฟฟ้ามีจำนวนมากเพียงพอ และจะไม่เป็นปัญหาหากเกิดเหตุฉุกเฉิน รวมถึงเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าแบบที่ต้องชาร์จไฟในอนาคต ทว่าจากสถานการณ์ปัจจุบันที่สถานีชาร์จไฟฟ้ามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจากแผนของทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะลงทุนสถานีชาร์จไฟฟ้ารวมกันมากกว่า 1,000 สถานี (Normal Charge และ Fast Charge) ภายในสิ้นปี 2561 นี้นั้น อาจมีจำนวนที่เยอะกว่าความต้องการจริงในปัจจุบันมาก ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในธุรกิจโดยเฉพาะในช่วง 1 ถึง 2 ปีแรกที่จำนวนรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าแบบที่ต้องชาร์จไฟยังมีจำนวนไม่มาก

ทั้งนี้จากการออกแบบสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยินดีที่จะจ่ายเงินประมาณ ไม่เกิน 1.5 บาท/กิโลเมตร สำหรับการชาร์จไฟฟ้าในสถานีให้บริการ ด้วยอัตราค่าไฟดังกล่าวศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่าการที่สถานีชาร์จไฟฟ้า (Fast Charge) จะคืนทุนภายในระยะเวลา 1 ปี และสามารถดำเนินธุรกิจได้ด้วยตนเองโดยไม่พึ่งเงินสนับสนุนจากภายนอก จำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้าที่เหมาะสมในพื้นที่กรุงเทพฯควรมีจำนวนน้อยกว่า 1,000 แห่ง ภายใต้สถานการณ์ที่คาดว่าปริมาณรถยนต์ส่วนบุคคลและรถสาธารณะ (แท็กซี่และตุ๊กตุ๊ก) ชนิดที่ต้องเสียบชาร์จไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯที่จะมีจำนวนราว 50,000 คัน และ 1,300 คัน ภายในปี 2562 ตามลำดับ

สมมติฐานการดำเนินธุรกิจสถานีชาร์จไฟฟ้า

1. สถานีชาร์จไฟฟ้าแบบสาธารณะ (Fast Charge) 2 หัวจ่าย ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการตกแต่งงานด้านสถาปัตย์ และ Main Power Supply & Transformer รวมถึงต้นทุนการดำเนินงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่ต้นทุนค่าไฟฟ้า และกำหนดให้สถานีชาร์จอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ โดยคิดต้นทุนค่าไฟจากการไฟฟ้านครหลวงด้วยอัตราการใช้ไฟฟ้าตามช่วงเวลา (TOU) ช่วง Peak สูงสุด 5.7982 บาทต่อหน่วย และช่วง Off Peak สูงสุด 2.6369 บาทต่อหน่วย

2. พฤติกรรมการใช้รถต่างกัน โดยในเขตกรุงเทพฯรถแท๊กซี่ไฟฟ้ามีระยะวิ่งเฉลี่ย 250 กม./วัน (รถแท๊กซี่ไฟฟ้าที่นำมาพิจารณาเป็นรถยนต์นำเข้าจากต่างชาติสามารถวิ่ง 320 กม. ต่อการชาร์จไฟฟ้าเต็ม 1 ครั้ง) และรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ามีระยะวิ่งเฉลี่ย 85 กม./วัน ต่างกับรถยนต์ส่วนบุคคลแบบปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ มีระยะวิ่งด้วยพลังงานไฟฟ้าล้วนเฉลี่ย 27 กม./วัน

3. พฤติกรรมในการชาร์จไฟฟ้าต่างกัน โดยรถยนต์ส่วนบุคคลมีแนวโน้มที่จะชาร์จไฟฟ้าจากที่พักอาศัย ซึ่งมีอัตราค่าไฟถูกกว่า และจะชาร์จไฟนอกที่พักอาศัยต่อเมื่อจำเป็น โดยจากแบบสำรวจผู้บริโภคส่วนใหญ่มองว่าจะชาร์จไฟนอกบ้าน 3 วัน/ครั้ง รวมถึงชาร์จไฟในปริมาณที่เพียงพอต่อการเดินทางกลับที่พักเท่านั้น ต่างกับรถสาธารณะที่น่าจะมีความจำเป็นต้องชาร์จไฟฟ้าจากสถานีชาร์จทุกวัน และต้องชาร์จไฟฟ้าจนถึงปริมาณสูงสุดที่จะชาร์จได้ในแต่ละครั้ง

ทำให้ธุรกิจสถานีชาร์จไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในช่วง 1 ถึง 2 ปีนี้ จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ และพันธมิตรทางธุรกิจค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามแนวทางหนึ่งที่ธุรกิจสามารถช่วยเหลือตนเองได้ คือ การพยายามเลือกตำแหน่งที่ตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดการเข้ามาใช้บริการในจำนวนที่มากพอ โดยพบว่า ยิ่งมีจำนวนรถสาธารณะไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ เช่น แท็กซี่ หรือตุ๊กตุ๊ก เข้าใช้บริการมากเท่าไร โอกาสในการคืนทุนจะเร็วขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ ในระยะยาวการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดให้เกิดการหมุนเวียนเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ เช่น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และซุปเปอร์มาเก็ต เป็นต้น

สำหรับในอนาคตถัดไป หลังจากที่รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเติบโตมากขึ้น และมีการใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในประเทศ สิ่งที่อาจจะเป็นความกังวลต่อเนื่อง ซึ่งภาครัฐจะต้องพิจารณาให้เกิดการพัฒนาขึ้น คือ การหาแหล่งผลิตไฟฟ้าที่ให้ปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงกระบวนการในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดมลพิษน้อย หรือไม่เกิดมลพิษเลย เช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ หรือชีวมวล เป็นต้น เพื่อให้การใช้รถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าไม่ได้เป็นต้นเหตุในการก่อให้เกิดมลพิษทางอ้อม

นอกจากนี้สำหรับ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องซึ่งคาดว่าจะมีโอกาสเปิดตลาดควบคู่ไปกับการเกิดของรถพลังงานไฟฟ้าในไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า นอกจากสถานีชาร์จไฟฟ้า จะเป็นธุรกิจหลักหนึ่งแล้ว ธุรกิจเสริมในสถานีชาร์จไฟฟ้าเพื่อสร้างความบันเทิงและการพักผ่อนรูปแบบต่างๆ ธุรกิจจัดการแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วของรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้า ธุรกิจซ่อมบำรุงรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้า เช่น รถ mobile service ธุรกิจพัฒนาแอพพลิเคชั่นใช้ร่วมกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ธุรกิจติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์และที่ชาร์จไฟฟ้า ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้า และธุรกิจผลิตวัตถุดิบน้ำหนักเบาทดแทนสำหรับชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น ยังเป็นประเภทธุรกิจต่างๆ ที่มีโอกาสเติบโตได้ดีไปพร้อมๆ กับการขยายตัวของตลาดรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า อย่างไรก็ตามการขยายตัวของตลาดรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ในไทย ยังมีแนวโน้มเดินหน้าแบบค่อยเป็นค่อยไปในช่วงระยะเริ่มต้น อาจทำให้ธุรกิจที่ได้รับประโยชน์บางธุรกิจอาจไม่ได้เติบโตอย่างรวดเร็วในระยะแรก

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!