ผู้บริโภคสหรัฐฯ บริโภคอาหารทะเลกระป๋องเพิ่มขึ้นยุค COVID-19


การระบาดของ COVID-19 ได้สร้างความท้าทายให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่ได้รับผลจากพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป แต่กลับกลายเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับยอดขายและห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก โดยเฉพาะสินค้าที่มีอายุการใช้นานอย่างอาหารกระป๋อง

นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กล่าวว่า ข้อมูลจาก สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ระบุว่า ช่วง 3 เดือนแรกของปี 2563 สหรัฐฯ นำเข้าทูน่ากระป๋องเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยมีแรงผลักดันจากความตื่นตระหนก (PANIC BUYING) ของการระบาดของ COVID-19 อย่างไรก็ดีในช่วงไตรมาสที่ 2 กลุ่มสินค้าดังกล่าวยังคงเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้บริโภคไม่ต้องการเดินทางไปร้านขายของชำ (GROCERY) บ่อย ๆ และไม่ต้องการเลือกซื้อสินค้าที่มีอายุสั้นมาเก็บไว้ จึงเลือกซื้ออาหารกระป๋องที่มีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานแทน นอกจากนี้พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่บ้านซึ่งเพิ่มมากขึ้น ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สินค้าอาหารกระป๋องมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากทูน่ากระป๋องเป็นอาหารที่ชาวอเมริกัน มีความคุ้นเคยและเป็นที่นิยม อีกทั้ง ผู้บริโภคต้องการที่จะลดความเสี่ยงจากการสะดุดของห่วงโซ่อุปทาน ทั้งการขาดแคลนเนื้อวัว เนื้อหมู และเนื้อไก่ จึงได้เลือกซื้ออาหารทะเลกระป๋องซึ่งมีความเสี่ยงน้อยในเรื่องของการขาดแคลนมาทดแทน

ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการส่งออกสินค้าทูน่ากระป๋องจากไทยมายังสหรัฐฯ ของกระทรวงพาณิชย์ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 พบว่าไทยส่งออกมายังสหรัฐฯ มูลค่า 305.39 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.63 โดยมีคู่แข่งที่สำคัญ คือ เอกวาดอร์ สเปน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและจีนจากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้วิเคราะห์สถานการณ์ของอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องในสหรัฐฯ ได้ว่า สินค้าอาหารกระป๋องถูกผลักดันให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง เนื่องจากราคาไม่แพง มีอายุการใช้งานนาน เก็บรักษาสะดวก นอกจากนี้แล้วองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (Food Bank) ต่าง ๆ มีความต้องการอาหารที่ไม่เน่าเสียง่ายเพิ่มมากขึ้น จึงแสดงให้เห็นถึงโอกาสอันดีต่อการขยายตลาดอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องจากประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องการว่างงานของชาวสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลกระป๋องในอนาคต

สำหรับผู้ส่งออกสินค้าไทยบางรายมีสินค้าที่เหมาะกับตลาดสหรัฐฯ และผ่านการรับรองจาก US FDA เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่มีเครือข่ายทางการค้า สามารถเข้าร่วมโปรแกรมจับคู่ทางธุรกิจ หรือ Online Business Matching (OBM) ได้โดยทาง สคต. ณ นครนิวยอร์ค จะรวบรวมผู้นำเข้าทั้งตลาด Mainstream Hispanic และ Oriental market เข้าร่วมโปรแกรม OBM เพื่อขยายการส่งออกสินค้ารูปแบบใหม่ตรงใจกลุ่มผู้บริโภคสหรัฐฯ ต่อไปในอนาคต

การระบาดของ COVID-19 ได้สร้างความท้าทายให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลกทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่ได้รับผลจากพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป แต่กลับกลายเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับยอดขายและห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก โดยเฉพาะสินค้าที่มีอายุการใช้นานอย่างอาหารกระป๋อง

นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กล่าวว่า ข้อมูลจาก สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ระบุว่า ช่วง 3 เดือนแรกของปี 2563 สหรัฐฯ นำเข้าทูน่ากระป๋องเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยมีแรงผลักดันจากความตื่นตระหนก (PANIC BUYING) ของการระบาดของ COVID-19 อย่างไรก็ดีในช่วงไตรมาสที่ 2 กลุ่มสินค้าดังกล่าวยังคงเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้บริโภคไม่ต้องการเดินทางไปร้านขายของชำ (GROCERY) บ่อย ๆ และไม่ต้องการเลือกซื้อสินค้าที่มีอายุสั้นมาเก็บไว้ จึงเลือกซื้ออาหารกระป๋องที่มีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานแทน นอกจากนี้พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่บ้านซึ่งเพิ่มมากขึ้น ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สินค้าอาหารกระป๋องมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากทูน่ากระป๋องเป็นอาหารที่ชาวอเมริกัน มีความคุ้นเคยและเป็นที่นิยม อีกทั้ง ผู้บริโภคต้องการที่จะลดความเสี่ยงจากการสะดุดของห่วงโซ่อุปทาน ทั้งการขาดแคลนเนื้อวัว เนื้อหมู และเนื้อไก่ จึงได้เลือกซื้ออาหารทะเลกระป๋องซึ่งมีความเสี่ยงน้อยในเรื่องของการขาดแคลนมาทดแทน

ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการส่งออกสินค้าทูน่ากระป๋องจากไทยมายังสหรัฐฯ ของกระทรวงพาณิชย์ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 พบว่าไทยส่งออกมายังสหรัฐฯ มูลค่า 305.39 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.63 โดยมีคู่แข่งที่สำคัญ คือ เอกวาดอร์ สเปน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและจีนจากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้วิเคราะห์สถานการณ์ของอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องในสหรัฐฯ ได้ว่า สินค้าอาหารกระป๋องถูกผลักดันให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง เนื่องจากราคาไม่แพง มีอายุการใช้งานนาน เก็บรักษาสะดวก นอกจากนี้แล้วองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (Food Bank) ต่าง ๆ มีความต้องการอาหารที่ไม่เน่าเสียง่ายเพิ่มมากขึ้น จึงแสดงให้เห็นถึงโอกาสอันดีต่อการขยายตลาดอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องจากประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องการว่างงานของชาวสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลกระป๋องในอนาคต

สำหรับผู้ส่งออกสินค้าไทยบางรายมีสินค้าที่เหมาะกับตลาดสหรัฐฯ และผ่านการรับรองจาก US FDA เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่มีเครือข่ายทางการค้า สามารถเข้าร่วมโปรแกรมจับคู่ทางธุรกิจ หรือ Online Business Matching (OBM) ได้โดยทาง สคต. ณ นครนิวยอร์ค จะรวบรวมผู้นำเข้าทั้งตลาด Mainstream Hispanic และ Oriental market เข้าร่วมโปรแกรม OBM เพื่อขยายการส่งออกสินค้ารูปแบบใหม่ตรงใจกลุ่มผู้บริโภคสหรัฐฯ ต่อไปในอนาคต

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!