‘ไทเป คอมพิวเทกซ์ 2018’ งานโชว์ศักยภาพสตาร์ทอัพเอเชีย


ในงานเทคโนโลยีประจำปีของไต้หวัน Taipei Computex 2018 ที่เพิ่งจบไป มีบริษัทเทคฯ น้องใหม่เข้าร่วมถึง 388 บริษัท มากขึ้นจาก 272 บริษัทเมื่อปีที่แล้ว

มีบรรดาบริษัทกองทุนร่วมลงทุนเข้าร่วมงานด้วย รวมทั้งบริษัทเเห่งหนึ่งที่มีเงินลงทุน 500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่เข้าร่วมประเมินผลงานของสตาร์ทอัพเหล่านี้

เจมมี่ ลิน (Jamie Lin) ผู้ร่วมก่อตั้งแอบเวิร์คส เวนเจอร์ส (AppWorks Ventures) ในไต้หวัน บอกว่า บริษัทสตาร์ทอัพกำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ในฐานะผู้คิดค้นอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) เนื่องจากยังไม่มีตลาดรองรับในขณะนี้

เทคโนโลยีนี้หมายถึงโปรแกรมซอฟท์เเวร์เเละฮาร์ดแวร์ที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์เเละโทรศัพท์สามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ในชีวิตประจำวันได้ไม่ว่าจะเป็นกล้องถ่ายภาพเเละระบบเตือนภัย

การเชื่อมโยงกันบางอย่างดำเนินการด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ มีการประมวลข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บได้จากอุปกรณ์เหล่านี้ ซึ่งนี่อาจหมายความว่าระบบคอมพิวเตอร์จะสามารถตัดสินใจได้เลียนแบบมนุษย์

ลิน กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ยังเดินหน้าเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และยังไม่มีใครเป็นผู้ครองสังเวียนในเรื่องของอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง นี่ทำให้สตาร์ทอัพมีบทบาทสำคัญเเละทำให้งานแสดงเทคโนโลยีปีนี้ทันยุคทันสมัยมากขึ้น

บริษัทวิจัยด้านการตลาด การ์ทเนอร์ (Gartner) คาดว่าภายในปี 2020 จะมีอุปกรณ์มากกว่า 20,000 ล้านชิ้นที่เชื่อมโยงเข้ากับอินเทอร์เน็ต เพิ่มขึ้นจาก 8,400 ล้านชิ้นเมื่อปีที่แล้ว โดยจำนวนจะเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อการบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายระบบ 5G จะช่วยให้การเชื่อมโยงเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม

ภายในปีหน้า บริษัทการ์ทเนอร์คาดว่าบรรดาบริษัทสตาร์ทอัพที่พัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ จะเเซงหน้าบริษัทแอมะซอน กูเกิ้ล ไมโครซอฟท์ เเละไอบีเอ็ม ในด้านการผลักดันให้บริษัทต่างๆ หันไปใช้งานปัญญาประดิษฐ์เพื่อเศรษฐกิจ

บริษัทฟอร์เรสเตอร์ รีเสิร์ช (Forrester Research) ชี้ว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จะมีมูลค่าทางการตลาดเพิ่มขึ้นไปที่ 1.2 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อปี ภายในปี ค.ศ. 2020 ในขณะที่การลงทุนเพิ่มขึ้นสามเท่าตัว

เทรซี่ ไช่ (Tracy Tsai) ประธานฝ่ายวิจัยของบริษัทการ์ทเนอร์ในไทเปกล่าวว่า บริษัทสตาร์ทอัพปัญญาประดิษฐ์มีบทบาทสำคัญ เพราะจะเน้นพัฒนาส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบทั้งหมดเท่านั้น เเละมุ่งพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อบริษัทที่ต้องการเสาะหาทางออกสามารถนำผลงานของบริษัทสตาร์ทอัพไปใช้ประกอบกันได้ตามแต่ต้องการ

และในงานเทคฯ ประจำปีนี้ที่ไต้หวัน มีเเมวมองจากบริษัทกองทุนร่วมลงทุนหรือ Venture Capital เข้าไปดูผลงานของบริษัทสตาร์ทอัพซึ่งเป็นเอเชียเสียส่วนมาก ที่มีแนวคิดด้านการคิดค้นซอฟแวร์เเละฮาร์ดแวร์ที่เน้นอุปกรณ์เชื่อมโยงต่างๆ ในด้านการดูแลสุขภาพเเละการจัดการโดรน

งานแสดงเทคโนโลยีนี้เสนอโอกาสเเก่บริษัทสตาร์ทอัพในการเสนอแนวคิดของตนให้กับบริษัทกองทุนร่วมการลงทุนทั้งหลาย นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลจาก 13 ชาติเข้าไปสังเกตุการณ์ในงานด้วย รวมทั้งจากฝรั่งเศส เเละเนเธอร์แลนด์ เพื่อมองหาผลงานของบริษัทสตาร์ทอัพเอเชียที่อาจจะช่วยส่งเสริมผลงานของตน

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตันถ่ายทอดรายงาน)

ในงานเทคโนโลยีประจำปีของไต้หวัน Taipei Computex 2018 ที่เพิ่งจบไป มีบริษัทเทคฯ น้องใหม่เข้าร่วมถึง 388 บริษัท มากขึ้นจาก 272 บริษัทเมื่อปีที่แล้ว

มีบรรดาบริษัทกองทุนร่วมลงทุนเข้าร่วมงานด้วย รวมทั้งบริษัทเเห่งหนึ่งที่มีเงินลงทุน 500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่เข้าร่วมประเมินผลงานของสตาร์ทอัพเหล่านี้

เจมมี่ ลิน (Jamie Lin) ผู้ร่วมก่อตั้งแอบเวิร์คส เวนเจอร์ส (AppWorks Ventures) ในไต้หวัน บอกว่า บริษัทสตาร์ทอัพกำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ในฐานะผู้คิดค้นอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) เนื่องจากยังไม่มีตลาดรองรับในขณะนี้

เทคโนโลยีนี้หมายถึงโปรแกรมซอฟท์เเวร์เเละฮาร์ดแวร์ที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์เเละโทรศัพท์สามารถสื่อสารกับอุปกรณ์ในชีวิตประจำวันได้ไม่ว่าจะเป็นกล้องถ่ายภาพเเละระบบเตือนภัย

การเชื่อมโยงกันบางอย่างดำเนินการด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ มีการประมวลข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บได้จากอุปกรณ์เหล่านี้ ซึ่งนี่อาจหมายความว่าระบบคอมพิวเตอร์จะสามารถตัดสินใจได้เลียนแบบมนุษย์

ลิน กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ยังเดินหน้าเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และยังไม่มีใครเป็นผู้ครองสังเวียนในเรื่องของอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง นี่ทำให้สตาร์ทอัพมีบทบาทสำคัญเเละทำให้งานแสดงเทคโนโลยีปีนี้ทันยุคทันสมัยมากขึ้น

บริษัทวิจัยด้านการตลาด การ์ทเนอร์ (Gartner) คาดว่าภายในปี 2020 จะมีอุปกรณ์มากกว่า 20,000 ล้านชิ้นที่เชื่อมโยงเข้ากับอินเทอร์เน็ต เพิ่มขึ้นจาก 8,400 ล้านชิ้นเมื่อปีที่แล้ว โดยจำนวนจะเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อการบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายระบบ 5G จะช่วยให้การเชื่อมโยงเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม

ภายในปีหน้า บริษัทการ์ทเนอร์คาดว่าบรรดาบริษัทสตาร์ทอัพที่พัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ จะเเซงหน้าบริษัทแอมะซอน กูเกิ้ล ไมโครซอฟท์ เเละไอบีเอ็ม ในด้านการผลักดันให้บริษัทต่างๆ หันไปใช้งานปัญญาประดิษฐ์เพื่อเศรษฐกิจ

บริษัทฟอร์เรสเตอร์ รีเสิร์ช (Forrester Research) ชี้ว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จะมีมูลค่าทางการตลาดเพิ่มขึ้นไปที่ 1.2 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อปี ภายในปี ค.ศ. 2020 ในขณะที่การลงทุนเพิ่มขึ้นสามเท่าตัว

เทรซี่ ไช่ (Tracy Tsai) ประธานฝ่ายวิจัยของบริษัทการ์ทเนอร์ในไทเปกล่าวว่า บริษัทสตาร์ทอัพปัญญาประดิษฐ์มีบทบาทสำคัญ เพราะจะเน้นพัฒนาส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบทั้งหมดเท่านั้น เเละมุ่งพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อบริษัทที่ต้องการเสาะหาทางออกสามารถนำผลงานของบริษัทสตาร์ทอัพไปใช้ประกอบกันได้ตามแต่ต้องการ

และในงานเทคฯ ประจำปีนี้ที่ไต้หวัน มีเเมวมองจากบริษัทกองทุนร่วมลงทุนหรือ Venture Capital เข้าไปดูผลงานของบริษัทสตาร์ทอัพซึ่งเป็นเอเชียเสียส่วนมาก ที่มีแนวคิดด้านการคิดค้นซอฟแวร์เเละฮาร์ดแวร์ที่เน้นอุปกรณ์เชื่อมโยงต่างๆ ในด้านการดูแลสุขภาพเเละการจัดการโดรน

งานแสดงเทคโนโลยีนี้เสนอโอกาสเเก่บริษัทสตาร์ทอัพในการเสนอแนวคิดของตนให้กับบริษัทกองทุนร่วมการลงทุนทั้งหลาย นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลจาก 13 ชาติเข้าไปสังเกตุการณ์ในงานด้วย รวมทั้งจากฝรั่งเศส เเละเนเธอร์แลนด์ เพื่อมองหาผลงานของบริษัทสตาร์ทอัพเอเชียที่อาจจะช่วยส่งเสริมผลงานของตน

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตันถ่ายทอดรายงาน)

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!